Thursday, December 18, 2014

ขั้นตอนการย้าย /home เพื่อเพิ่มขนาด disk เดิม #ubuntu

มีขั้นตอนทั้งหมด 6 ขั้นตอน คือ
  1. เตรียม paratition ใหม่
  2. backup ไฟล์ fstab และ แก้ไขไฟล์ fstab ให้มองเห็น paratition ใหม่ให้เป็น /media/home
  3. ใช้คำสั่ง rsync เพื่อ copy ข้อมูลทั้งหมดของ /home (เดิม) ไปยัง /media/home (ใหม่)
  4. แก้ไข fstab อีกครั้งเพื่อย้าย mount point จาก /media/home ไปเป็น /home เพื่อแทนที่ของเดิม
  5. จากนั้นเปลี่ยนชื่อ /home เดิมเป็น /old_home  แล้ว reboot เครื่อง
  6. ทดสอบการทำงานว่าเป็นปกติหรือไม่?  ถ้าเป็นปกติ ไฟล์ทุกอย่างยังอยู่ครบ ก็ทำการลบ /old_home ออกจากระบบได้ 

เตรียม paratition ใหม่ 

ใช้ natilus format ก็ได้ ให้เลือกเป็น linux filesystem ext3 หรือ ext4   ถ้าถนัด command line ก็ใช้ คำสั่ง
sudo fdisk /dev/sda3

หลังจากเตรียม paratition เสร็จแล้ว ก็อย่าลืมจด UUID ของ paratition นั้น ๆ  ไว้ด้วย โดยคำสั่ง
sudo blkid

หรือถ้าไม่มี ก็ให้ใช้คำสั่ง
sudo vol_id -u 
ตัวอย่าง
sudo vol_id -u /dev/sda3

backup fstab 

ใช้คำสั่ง
sudo cp /etc/fstab /etc/fstab.$(date +%Y-%m-%d)

 ถ้าต้องการตรวจสอบว่าไฟล์ที่ backup เหมือนกับไฟล์ต้นฉบับ หรือไม่ ใช้คำสั่ง
cmp /etc/fstab /etc/fstab.$(date +%Y-%m-%d)

แก้ไข ไฟล์ fstab โดยใช้คำสั่ง 

sudo pico /etc/fstab

แล้วเพิ่มบรรทัดดังนี้
# (identifier)  (location, eg sda5)   (format, eg ext3 or ext4)      (some settings) 
UUID=????????   /media/home    ext3          defaults       0       2 
 
แทนที่ ????? ด้วย UUID ที่ได้จดไว้แล้ว  กรณีที่ format เป็น ext4 อย่าลืมเปลี่ยน ext3 ให้เป็น ext4 ด้วย 

เมื่อแก้ไขเสร็จก็ทำการ save & close แล้วจึงทำการสร้าง directory ตามคำสั่ง 

sudo mkdir /media/home
 

จากนั้น restart mount  ด้วยคำสั่ง

sudo mount -a 

ทำการโอนย้ายข้อมูจาก /home มาสู่ /media/home ด้วยคำสั่ง 

  
sudo rsync -aXS --exclude='/*/.gvfs' /home/. /media/home/.
 
หลังจาก run คำสั่งแล้วอาจจะรอนานหน่อย เนื่องจากต้องใช้เวลาในการ copy ข้อมูล  และบางครั้งอาจจะมี error เกิดขึ้นเกี่ยวกับการ copy ไฟล์ cache ต่าง ๆ ไม่ต้องตกใจไป
 เมื่อทำการ copy ข้อมูลเสร็จแล้ว สามารถจะตรวจสอบ ได้ว่าไฟล์ต่าง ๆ ได้ถูก copy ไปครบแล้วหรือไม่ ด้วยคำสั่ง 
sudo diff -r /media/ubuntu/linux-root/home /media/ubuntu/linux-home
 

 แก้ไขไฟล์ fstab อีกครั้งด้วยคำสั่ง 

sudo pico /etc/fstab 

แก้ไขบรรทัดที่ได้เพิ่มไปในขั้นตอนก่อนหน้านี้ (แก้ไขในส่วนของ location
# (identifier)  (location, eg sda5)   (format, eg ext3 or ext4)      (some settings) 
UUID=????????   /home    ext3          defaults       0       2

ทำการ mv /home เดิม เป็น /old_home ด้วยคำสั่ง 

 
cd / && sudo mv /home /old_home && sudo mkdir /home
 
 แล้วทำการ restart mount  อีกครั้ง
sudo  mount -a 

ทำลองใช้งานต่าง ๆ พร้อมทั้ง ทดสอบ restart เครื่องด้วย  เมื่อทำทดสอบแล้วไม่มีปัญหาอะไร ก็ทำการ ลบ /old_home ทิ้งซะ ด้วยคำสั่ง
cd /
sudo rm -r /old_home
 

Sunday, December 14, 2014

แฮนด์จักรยาน

      Drop

แฮนด์จักรยาน
          แฮนด์ดรอปหรือที่เราคุ้นหูกันว่าแฮนด์หมอบ เป็นแฮนด์ที่เรามักเห็นได้จากจักรยานเสือหมอบ โดยมีลักษณะปลายแฮนด์ที่โค้งลง ช่วยให้จับถนัดมือเมื่อก้มตัวลงสุด ๆ เพื่อลดแรงต้านของลมได้และใช้ขี่ทำความเร็วได้ดี

        Bullhorn

แฮนด์จักรยาน
          แฮนด์เขาควายถูกออกแบบมาเพื่อนักปั่นที่ไม่ถนัดจับปลายแฮนด์หมอบ โดยปลายแฮนด์โค้งขึ้น สะดวกต่อการก้มตัวลงในระดับปานกลาง ใช้เร่งความเร็วในทางราบ ซึ่งแฮนด์ทรงนี้เป็นที่นิยมใช้กับจักรยานฟิกซ์เกียร์เป็นอย่างมาก

         Bullmoose

แฮนด์จักรยาน
          ลักษณะเด่นของแฮนด์บูลมูสคือ ทรงสามเหลี่ยมที่เป็นแกนหลัก โดยตัวแฮนด์จะมีความกว้างกว่าแบบอื่น ๆ และมีน้ำหนักเบา ช่วยให้เลี้ยวและเข้าโค้งทำได้ง่ายมากขึ้น แต่เนื่องจากความกว้างของมันจึงอาจทำให้ผู้ขี่บางคนรู้สึกเกะกะ ทำให้ไม่ค่อยเป็นที่นิยมเท่าไรนัก   
   
         Flat

แฮนด์จักรยาน
          นับว่าเป็นแฮนด์ที่นิยมกันอย่างแพร่หลายอีกประเภทหนึ่งสำหรับแฮนด์ตรง ซึ่งนักปั่นหลายคนเลือกใช้กับจักรยานเสือภูเขา จักรยานฟิกซ์เกียร์ รวมถึงจักรยานลูกผสมด้วย เพราะแฮนด์ทรงนี้ช่วยให้การบังคับจักรยานทำได้สะดวกมากขึ้น

         Riser

แฮนด์จักรยาน
          แฮนด์ไรเซอร์จะมีลักษณะคล้ายกับแฮนด์ตรง แต่จุดกึ่งกลางของแฮนด์จะเว้าลงไปข้างล่าง ทำให้เปลี่ยนตำแหน่งการจับได้มากกว่านั่นเอง

         Aerobars

แฮนด์จักรยาน
          หลายคนอาจเคยเห็นแฮนด์แอโรบาร์ในการแข่งไตรกีฬามาบ้าง เพราะตัวแฮนด์จะมีที่พักแขนและด้ามจับยื่นออกมาด้านหน้า ซึ่งเหมาะใช้สำหรับในการแข่งขันเพื่อทำเวลาเป็นอย่างยิ่ง

         BMX

แฮนด์จักรยาน
          แฮนด์ประเภทนี้มาพร้อมกับจักรยานบีเอ็มเอ็กซ์ ซึ่งช่วยให้มีความคล่องตัวในการควบคุมจักรยานเพื่อแล่นบนทางวิบากหรือทาง ขรุขระ รวมถึงใช้ในการแข่งขันกีฬาเอ็กซ์ตรีมสำหรับจักรยาน ที่ต้องใช้ลีลาการเล่นผาดโผนสูงอีกด้วย

         Cruiser

แฮนด์จักรยาน
          แฮนด์ทรงนี้เห็นได้ตามจักรยานที่ไว้ปั่นตามชายหาดหรือจักรยานครุยเซอร์ สำหรับปั่นเล่นและปั่นรับลมชิล ๆ ซึ่งช่วยให้นักปั่นมีตำแหน่งการจับที่สบายมืออีกด้วย

         Whatton

แฮนด์จักรยาน
          เป็นแฮนด์ลักษณะเฉพาะจักรยานล้อสูง ช่วยในเรื่องการทรงตัวบนเบาะนั่งที่อยู่สูง เพราะเป็นจักรยานทรงโบราณมีล้อหน้าขนาดใหญ่และล้อหลังขนาดเล็ก

         Touring

แฮนด์จักรยาน
          แฮนด์ทัวริ่งหรือที่เรียกว่า แฮนด์ผีเสื้อ เพราะรูปทรงของมันมีลักษณะคล้ายปีกผีเสื้อ โดยนักปั่นหลายคนนำมาใช้กับจักรยานเสือภูเขา เหมาะกับการปั่นระยะไกลและใช้เวลานาน เนื่องจากสามารถเปลี่ยนตำแหน่งการจับได้หลายจุด ขึ้นอยู่กับความสบายของนักปั่นแต่ละคน

Monday, December 8, 2014

การเลือกความยาวท่อนอน ขาจาน

การเลือกความยาวของท่อบน ( top tube length )

เพื่อนๆครับ ลองเอาส่วนสูงของเพื่อนๆเอง หารด้วย ความยาวinseemที่วัดได้จากในตอนที่แล้ว แล้วมาดูกันหน่อยซิว่าเพื่อนๆมีผลลัพธ์เป็นเท่าไหร่

ว่าแต่ว่าจะหารไปทำไมกัน ถ้าเพื่อนๆอ่านเรื่องของinseem length ที่อ้างอิงไว้ในตอนที่แล้ว เพื่อนๆก็คงจะผ่านตาถึงคำว่า torso length กันหละ ( ความยาวtorso ก้อคือความยาวของช่วงหลังนั่นเอง , ในขณะที่ความinseemคือความยาวของช่วงขา ) การออกแบบท่อบนของจักรยานนั้น จะคำนึงถึงtorso lengthของผู้ขี่ ในขณะที่ท่อนั่งจะคำนึงถึงinseem lengthเป็นสำคัญ

เพื่อนๆคงจะหารเสร็จแล้วนะ มาแปรผลกันดีกว่า
ถ้าผลหารมีค่ามากกว่า 2.2 แสดงว่า เป็นคนที่มีช่วงหลังยาว ( เมื่อเปรียบเทียบกับความยาวช่วงขานะครับ ไม่ได้หมายถึงคนสันหลังยาว--->ขี้เกียจ นะ )
ถ้าผลหารมีค่าน้อยกว่า 2.0 แสดงว่า เป็นคนที่มีช่วงหลังสั้น
ถ้าอยู่ระหว่าง 2.0 - 2.2 ก็จัดอยู่ในกลุ่มเฉลี่ย

จักรยานส่วนใหญ่นั้นจะออกแบบมาสำหรับคนที่มีสัดส่วนอยู่ในค่าเฉลี่ย จักรยานในแบบstandard frame หรือ conventional frame มักจะมีความยาวของท่อบน ( วัดจากcenter of seat tube ไปยัง center of head tube นะครับ ) สั้นกว่าความยาวของท่อนั่ง ( วัด center to center เช่นกัน ) ประมาณ 2 - 3 ซม. ( อาจจะแตกต่างไปจากนี้ ขึ้นกับขนาดของเฟรม และยี่ห้อด้วยเป็นสำคัญ )

ในกลุ่มที่มีช่วงหลังค่อนข้างยาว ก็ควรจะพิจารณาเลือกเฟรมที่มีท่อบนค่อนข้างยาวหรือยาวเลย ( ขึ้นกับว่าช่วงหลังยาวมากแค่ไหน ) เฟรมกลุ่มนี้จะมีความยาวท่อบนที่เท่ากับหรือยาวกว่าความยาวท่อนั่ง เช่น ท่อนั่งยาว 58 ซม. ท่อบนยาว 59 ซม.

ในกลุ่มที่มีช่วงหลังค่อนข้างสั้น ก็ควรจะพิจารณาเลือกเฟรมที่มีท่อบนที่สั้น เช่น รถที่ออกแบบมาสำหรับผู้หญิง เช่น Trek WSD เป็นต้น

การเลือกจักรยานที่มีสัดส่วนผิดไปจากสัดส่วนของร่างกายจะมีผลเสียใน เรื่องของการการหายใจ การบังคับเลี้ยว การกระจายน้ำหนัก และสร้างความเมื่อยล้าให้แก่กล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่supportช่วงหลัง !!อย่าเชื่อใครโดยขาดความชั่งใจว่าเรายังสามารถปรับแต่งความยาวของStem หรือปรับตำแหน่งหน้า-หลังของเบาะชดเชยได้ เพราะนั่นจะทำให้การปรับแต่งต่างๆผิดเพี้ยนไปหมด ซึ่งเราจะได้กล่าวกันต่อไป


การปรับแต่งรถถนนให้เข้ากับตัวเรา
ความสูงของเบาะ

ความสูงของเบาะมีผลต่อactivityของกล้ามเนื้อขา โดยผลการศึกษาการทำงานของกล้ามเนื้อขาโดยเปรียบเทียบดูจากคลื่นไฟฟ้ากล้าม เนื้อ (EMG) พบว่าเมื่อเพิ่มความสูงของเบาะขึ้น กล้ามเนื้อขาที่เกี่ยวข้องจะทำงานเร็วขึ้น และมีเวลาที่ทำงานอยู่นานขึ้น แต่ไม่พบการเพิ่มขึ้นของmagnitudeของEMG ซึ่งนั่นหมายความว่าจำนวนของกล้ามเนื้อที่ทำงาน และแรงหดตัวของกล้ามเนื้อไม่เปลี่ยนแปลง

ความสูงของเบาะที่เหมาะสมจะมีผลช่วยลดการบาดเจ็บของข้อต่างๆ รวมไปถึงกล้ามเนื้อ และมีผลต่อประสิทธิภาพของการปั่น แต่อย่างไรก็ตาม ความสูงที่เหมาะสมนั้นยังไม่มีใครที่สามารถจะฟันธงลงไปว่าต้องเท่านั้น เท่านี้ แต่!!ก็มีหลายวิธีที่เป็นที่ยอมรับจากทั่วโลก และใช้กันอย่างแพร่หลาย ได้แก่

  1. วิธีของJohn Howard
    วิธีนี้แนะนำว่า เมื่อวางตำแหน่งของpedalที่ 6 นาฬิกา วางส่วนปลายของเท้าที่แกนบันได ( ก็ตำแหน่งที่เรายึดcleatนั่นแหละครับ ) เข่าจะงอ 30 องศา พอดี ( มุมของเข่านี้จะวัดจากเส้นที่ลากตลอดแนวความยาวของกระดูกขาด้านบน (femur) และกระดูกหน้าแข้ง(tibia) )ดังรูป


  2. วิธีของ Greg LeMond
    อาศัยการคำนวณจากค่าInseem length โดยระยะความสูงของเบาะที่เหมาะสม มีค่าเท่ากับ 0.883 x Inseem length โดยถ้าหากผู้ขี่ใช้clipless pedal ก็ให้ลบค่าที่ได้จากการคำนวณนี้ออกไป 3 mm
    ความสูงของเบาะวิธีนี้ จะเป็นระยะที่วัดระหว่างจุดกึ่งกลางของแกนกระโหลกไปยังส่วนบนสุดของเบาะ ( The top of saddle ) โดยแนวของการวัดนั้นจะวัดผ่านท่อนั่งและหลักอาน


  3. วิธีของ Andy Pruitt
    วิธีนี้จะคล้ายๆกับวิธีที่ 1 แต่จะมีจุดอ้างอิงในการวัด 3 จุด ( ฮ่าๆ มาหัดเรียนวิชาanatomyกันหน่อยก็แล้วกันนะครับ ) ดังนี้

    • Greater trochanter ของกระดูก femur
      greater trochanter เป็นปุ่มกระดูกที่สามารถคลำได้ง่าย โดยการยืนตรง เอามือคลำที่กระดูกเชิงกรานทางด้านข้างของลำตัว แล้วเลื่อนมือลงไปหากระดูกต้นขา ก็จะสะดุดกับปุ่มกระดูกนี้ได้ เมื่อเรางอข้อสะโพก (ยกเข่า) ปุ่มกระดูกนี้จะเป็นจุดหมุนของการงอข้อสะโพก ซึ่งเราจะพบว่าไม่มีการขยับขึ้นลงของปุ่มกระดูกนี้
    • Lateral condyle ของกระดูก femur
      ปุ่มกระดูกนี้จะอยู่ส่วนปลายของกระดูกfemur เป็นส่วนหนึ่งของข้อเข่า เมื่อเรานั่งบนเก้าอี้ แล้วงอเข่าเหยียดเข่าสลับกัน เราจะคลำได้ว่าปุ่มกระดูกดังกล่าวนี้จะอยู่กับที่เสมือนหนึ่งว่าเป็นจุดหมุน ของเข่านั่นเอง
    • Lateral malleolus
      ปุ่มกระดูกนี้ ก็คือตาตุ่มด้านนอกนั่นเอง
      ตำแหน่งความสูงที่เหมาะสมของเบาะนั้น จะวัดมุมได้ดังรูป



ถ้าหากคุณลองทำดูทั้ง 3 วิธีนี้ คุณก็จะพบว่าผลที่ได้จะมีค่าที่ใกล้เคียงกันมาก ( แต่จะต้องวัดในตำแหน่งที่เบาะทำมุมราบกับพื้น หรือเชิดปลายจมูกเบาะขึ้นเล็กน้อย (ในกรณีที่เป็นเบาะโค้ง , ผู้เรียบเรียง ) )

อีกวิธีในการดูง่ายๆว่าเบาะคุณสูงเกินไป ก็คือ จะมีการขยับของสะโพกตลอดเวลาที่มีการปั่น
และอีกวิธีในการดูง่ายๆว่าเบาะคุณเตี้ยเกินไป ก็คือ จะมีการขยับของร่างกายส่วนบนมากกว่าปกติและมักจะต้องยืนปั่นบ่อยๆ
ถ้าหากพบว่าวิธีทั้ง 3 นี้ได้ค่าที่แตกต่างกับความสูงเดิมที่คุณเคยใช้งานอยู่เป็นประจำ และต้องการจะปรับแต่งใหม่ๆ ก็โปรดใจเย็นๆสักนิดครับ การปรับทีเดียวมากๆเลยนั้น อาจจะปรับตัวไม่ได้ เพราะว่าเคยชินกับความสูงเดิม ก็มีคำแนะนำว่าให้ค่อยๆปรับเพิ่มหรือลดความสูง 2 mm ทุกๆ 2 สัปดาห์ ( ในกรณีนี้เข้าใจว่า น่าจะเหมาะสมกับผู้ที่ปั่นประจำทุกวัน ระยะทางรวมวันหนึ่งๆเป็นร้อยกม. เลยทำให้การปรับตัวนั้นต้องใช้เวลามากกว่าเหล่าพวกเราซึ่งเป็นมือใหม่ )


ตำแหน่งเดินหน้า-ถอยหลังของเบาะ ( Fore-Aft position )
    ตำแหน่งหน้า-หลังของเบาะที่ใช้กันมาอย่างแพร่หลาย ก็คือตำแหน่งที่เรียกว่า knee over pedal spindle หรือ KOPs ตำแหน่งนี้ผมเองก็เคยกล่าวเอาเป็นในเรื่อง การปรับจักรยานให้เข้ากับตัวของเรา ( นานาสาระเรื่องที่ 2 ตอน2 )
    ในจักรยานถนนนั้น KOPsก็ยังเป็นตำแหน่งพื้นฐานที่เราใช้ในการset ระยะหน้า-หลังของเบาะเช่นกัน ตำแหน่งนี้มีผลต่อการออกแรง และการใช้รอบขา
  • ในกรณีที่เราตั้งระยะหน้า-หลังของเบาะให้ถอยหลังห่างไปจากจุดKOPs เราก็จะได้แรงในถีบบันไดมากขึ้น ( ในการปั่นเสือภูเขา ที่มีเส้นทางขึ้นเขาชันๆ การปรับเบาะให้ถอยหลังไปจากจุดKOPs จะช่วยให้ผู้ปั่นสามารถเพิ่มแรงถีบบันไดขึ้น โดยใช้รอบขาลดลง , พูดง่ายๆว่า เรียกแรงบิดที่รอบเครื่องต่ำลงนั่นแหละ )
    นักแข่งรถถนนหลายคนนิยมตั้งเบาะถอยหลังห่างไปจากจุดKOPs 1-2 ซม. ( ในกลุ่มเสือภูเขา บางคนเช่นNed Overend ถอยเบาะไปจากจุดKOPs ถึง 6 ซม. )
  • ในกรณีที่เราตั้งระยะหน้า-หลังของเบาะให้เดินหน้าล้ำจุดKOPs ขึ้นไป จะพบว่าที่ตำแหน่งนี้นักปั่นสามารถใช้รอบขาสูงๆได้สะดวกกว่าเดิม ซึ่งจะเห็นได้ในกลุ่มSprinter จะตั้งเบาะเดินหน้าล้ำจุดKOPsขึ้นไป 1-2 ซม. ( ยิ่งถ้าเป็นพวกแข่งไตรกีฬาด้วยแล้ว ตำแหน่งเบาะจะล้ำหน้าKOPsไปมากทีเดียว เหตุผลสำคัญนอกจากได้รอบขาที่สูงแล้ว นักไตรกีฬาส่วนใหญ่มีพื้นฐานมาจากนักวิ่ง จึงมีกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังหรือHamstringsที่แข็งแรง และยืดหยุ่นกว่านักจักรยาน ร่วมกับรถจักรยานไตรกีฬามีมุมของท่อนั่งที่ชันกว่ารถถนนทั่วไป และการปั่นที่ห้ามเกาะท้ายกัน ( Drafting is illegal ) ท่าปั่นลักษณะนี้จะช่วยให้สามารถหมอบได้มากขึ้น (ก็ต้องพึ่งตัวเองใช่ไหม aerodynamicจึงจำเป็นที่สุด)โดยที่ไม่ต้องกังวลว่าจะตีเข่าใส่หน้าอกตัวเอง ไง และในท่าปั่นเช่นนี้จะให้ความคุ้นเคยคล้ายๆกับการวิ่งอยู่บนบันได


มุมของเบาะ (saddle tilt)
มุมของเบาะก็คล้ายๆกับเสือภูเขานั่นแหละครับ คือจะตั้งเบาะให้ขนานกับพื้นโลก หรือบางทีอาจจะปรับให้จมูกของเบาะเชิดขึ้นเล็กน้อย(ในกรณีที่เป็นเบาะที่ โค้ง)
การปรับเบาะให้เชิดมากๆนั้นในผู้ชายจะมีผลเสีย เพราะว่าจะมีการกดบริเวณXXX อาจจะเกิดอาการชา และสิ่งไม่พึงประสงค์ที่กลัวๆกัน
ส่วนในผู้หญิงนั้น ในบางคนอาจจะชอบที่จะปรับให้จมูกของเบาะก้มต่ำลงเล็กน้อย เพื่อลดแรงกดทับบริเวณอันพึงสงวน


ตำแหน่งความสูงของStem
ข้อควรพิจารณาก็คือ stemยิ่งสูงยิ่งสบาย stemยิ่งต่ำยิ่งลู่ลม
โดยทั่วไปแล้ว ส่วนสูงที่สุดของstem ควรจะต่ำกว่าส่วนสูงที่สุดของเบาะประมาณ 1-3 นิ้ว ( โดยเฉลี่ยควรประมาณ 2นิ้ว ) จริงอยู่ที่ว่าStemยิ่งต่ำเท่าไร ก็ยิ่งเพิ่มAerodymanicขึ้นเท่านั้น แต่!!!ก็ยิ่งเพิ่มความเมื่อยล้าให้แก่ร่างกายส่วนคอ หลังตอนล่าง และบ่อยครั้งที่อาจจะเพิ่มการกดบริเวณXXX และถ้าหากว่า ในเวลาที่ก้มหมอบปั่น แล้วหัวเข่าสามารถตีใส่หน้าอกตัวเองได้หละก้อ แสดงว่าstemต่ำเกินไปแล้วครับ


ความยาวของStem ( Stem extension )
จักรยานถนน หรือจักรยานภูเขาก็ตั้งอยู่ในพื้นฐานคล้ายๆกัน เพื่อนๆคงจะเคยได้ยินคำว่าระยะเอื้อม (reach)มาบ้างแล้ว ระยะเอื้อมจะมีส่วนประกอบที่สำคัญคือ ความยาวของท่อบน และความยาวของStem ความยาวของท่อบนนั้นเป็นสิ่งที่แปรผันไปตามขนาดของเฟรม ซึ่งถูกกำหนดมาจากความยาวของท่อนั่ง การปรับระยะเอื้อมที่เหมาะสมจึงต้องอาศัยการเลือกstemที่มีความสั้นยาวแตก ต่างกันไปตามแต่รูปร่างของผู้ขี่เอง

การจะเลือกขนาดความยาวของstemที่เหมาะสมนั้น จะต้องอาศัยเพื่อนที่สนิทกับคุณมากๆหน่อย ( ไม่สนิทจริง เขาไม่อยากจะช่วยครับ เพราะมันยุ่งยาก ) จากนั้นก็หาtrainerแบบจับล้อหลังมายึดกับจักรยานเอาไว้ให้มั่นคง แล้วหาไม้หรืออะไรก็ได้มารองหนุนล้อหน้าให้ได้ระดับเดียวกับเป๊ะกับล้อหลัง จากนั้นให้ขึ้นไปนั่งบนอาน วางตำแหน่งเท้าให้เหมาะสม เอามือจับที่ส่วนของแฮนด์ล่าง ( the drops of the bar ) จากนั้นต้องพึ่งเพื่อนหละครับ

คราวนี้ให้คุณก้มหน้าลงไปมองพื้น โดยทำมุม45องศา แล้วให้เพื่อนสนิทของคุณทิ้งสายดิ่งจากปลายดั้งจมูกของคุณลงไปที่พื้น ถ้าหากว่าstemที่ใช้อยู่มีความยาวที่เหมาะสม จะพบว่าส่วนปลายสุดของstemหรือแฮนด์จะอยู่หน้าต่อสายดิ่ง 1 นิ้วพอดี และในตำแหน่งนี้เมื่อคุณมองไปที่ดุมล้อหน้า จะเห็นว่าแกนของดุมล้อหน้าจะถูกบังด้วยhandlebars



อีกวิธีหนึ่งที่Greg LeMond แนะนำไว้ก้อคือ ในกรณีที่ความยาวของstemเหมาะสมนั้น เมื่อก้มลงเอามือจับไว้ที่แฮนด์ล่าง งอศอกประมาณ 65 - 70 องศา และขาจานอยู่ในตำแหน่ง 1 และ 7 นาฬิกา จะพบว่าข้อศอกจะอยู่ห่างจากลูกสะบ้า 0-1นิ้ว ( อาจจะสัมผัสกันได้ )

เอาหละจากนั้นให้ไปพิสูจน์กันจริงๆจังๆ ด้วยการปั่นระยะทางไกลๆสักหน่อย ( ปั่นใกล้ๆไม่ทันรู้สึกหรอกครับ )
- ถ้าหากว่าstemนั้นสั้นเกินไป คุณก็จะมีอาการปวดเมื่อยบริเวณคอและไหล่
- ถ้าหากว่า stemนั้นยาวเกินไป คุณก็จะมีอาการปวดเมื่อยหรือไม่ค่อยสบายนักบริเวณด้านหลังต้นแขน

Stem ในท้องตลาดจะมีความยาวให้เลือกใช้ตั้งแต่ 4 - 14 ซม. โดยที่ผู้ชายส่วนใหญ่มักจะลงตัวกับstemยาว 10 - 13 ซม. สำหรับผู้หญิงหรือผู้ที่มีtorso lengthที่ค่อนข้างสั้น ก็อาจจะใช้สั้นกว่านี้ได้อีก อย่างไรก็ตามถ้าหากว่าคุณพบว่าคุณต้องใช้stemที่ยาวมากเกินไป หรือสั้นมากๆ ขอให้คุณฉุกใจคิดไว้เถอะครับว่า คุณกำลังมีปัญหาเกี่ยวกับความไม่ลงตัวของเฟรมที่คุณใช้อยู่ โดยมีต้นเหตุมาจากความยาวของท่อบนที่ไม่เหมาะสมกับความยาวลำตัวช่วงบนของคุณ นั่นเอง

การชดเชยความไม่ลงตัวของขนาดเฟรม ด้วยการเลือกใช้stemที่สั้นหรือยาวมากๆ จะส่งผลเสียในแง่ของการควบคุมรถ การกระจายน้ำหนัก และจะได้จักรยานที่ขี่ไม่สบาย


Handlebars
แฮนด์ที่เหมาะสมนั้นควรจะมีความกว้างเท่ากับความกว้างของ ไหล่ ( วัดในท่าทิ้งแขนลงล่าง โดยวัดระยะห่างระหว่างปุ่มกระดูกของกระดูกต้นแขนทั้งสองข้าง ซึ่งปุ่มกระดูกนี้จะอยู่ด้านบนและนอกสุดของหัวไหล่คุณเอง ) การเลือกแฮนด์ที่แคบเกินไปจะส่งผลให้หายใจลำบาก ในขณะที่แฮนด์ที่กว้างเกินไป จะทำให้เปิดส่วนหน้าอกรับลมมากเกินไปและเพิ่มแรงปะทะของลมโดยใช่เหตุ ี


ความยาวขาจาน (Crank-Arm length)
ความยาวขาจานมีผลอย่างมากต่อรอบขาและการทดแรงถีบบันได ขา จานที่ยาวกว่าจะถูกเลือกใช้สำหรับการปั่นเกียร์หนักที่รอบขาต่ำ ในขณะที่ขาจานที่สั้นกว่าจะถูกเลือกใช้สำหรับการปั่นด้วยเกียร์ที่เบากว่า โดยใช้รอบขาที่สูงกว่า

เราอาจจะเลือกใช้ขาจานที่สั้นลงสำหรับการปั่นประเภทtrack sprint และ criteriums และอาจจะเลือกขาจานที่ยาวขึ้นสำหรับการปั่นแบบtime trial และการปั่นขึ้นเขา ( เสือภูเขาจะใช้ขาจานที่ยาวขึ้น เพื่อทดแรงสำหรับการป่ายปีนทางชันได้ดีขึ้น )

สิ่งที่อยากให้คิดถึงไว้บ้างก็คือ เมื่อคุณใช้ขาจานที่มีความยาวกว่าที่น่าจะเป็นหรือเหมาะสม ( เหมาะสมในแง่ของการไม่บั่นทอน หรือไม่สร้างความสึกหรอให้แก่หัวเข่า ) เอาหละถึงแม้ว่าคุณปรับความสูงของเบาะไว้เหมาะสมแล้ว สิ่งที่คุณจะพบก็คือในรอบการปั่น ที่ตำแหน่งหัวเข่าของคุณอยู่สูงสุดนั้น ขาจานที่ยาวกว่า จะมีการงอของหัวเข่ามากกว่าเสมอ พูดง่ายๆว่าหัวเข่าด้านบนจะถูกยกสูงขึ้นไปอีกกว่าเดิม เช่น ถ้าหากคุณเหมาะสมกับขาจานที่ยาวเพียง 170mm แต่คุณฝืนใช้ขาจานที่ยาวถึง 175 mm จริงอยู่ที่ว่าเมื่อขาจานขนานกับโลก ขาจานอาจจะยาวขึ้นกว่าเดิมอีกเพียง 5 mm ก็เหมือนกับแค่ก้าวขายาวกว่าเดิมอีกแค่ 5 mm แต่ในขณะที่หัวเข่าคุณขึ้นสูงสุดนี่สิครับ หัวเข่าด้านบนคุณจะต้องถูกชักขึ้นสูงกว่าเก่าอีก 10 mm เลยทีเดียว ( อย่าลืมนะครับว่า ขาจานยาวขึ้นอีก 5 mm คุณก็ต้องปรับอานต่ำลงอีก 5 mm ด้วย ) ( ขอขอบคุณ คุณนทีแห่งโปรไบค์ที่ให้ข้อคิดนี้เอาไว้ครับ ) นั่นก็ย่อมหมายถึงว่าคุณต้องงอเข่ามากขึ้นกว่าเดิมอีก ความสึกหรอของข้อเข่าก็จะมากขึ้นโดยเฉพาะถ้าหากคุณพยายามที่จะควงบันไดด้วย รอบขาที่สูงๆ

ถ้าหากคุณรู้สึกว่าหัวเข่าคุณงอมากเกินไปในตำแหน่งที่ยกขาสูงสุด ก็ลองเปลี่ยนมาใช้ขาจานที่สั้นลงอีกสัก 2.5 mm ก้อน่าจะเป็นผลดีกับคุณเองนะครับ

เอาหละครับ สูตรสำเร็จรูปที่ถูกเขียนเอาไว้ ลองพิจารณาก็แล้วกันครับ ผมหามาให้ 2 สูตร

  1. พิจารณาจากส่วนสูงโดยรวม

    • ส่วนสูงน้อยกว่า 60 นิ้ว ควรเลือกcrank-arm length 160mm
    • ส่วนสูงระหว่าง 60 - 64 นิ้ว ควรเลือกcrank-arm length 165 - 167.5mm
    • ส่วนสูงระหว่าง 65 - 72 นิ้ว ควรเลือกcrank-arm length 170mm
    • ส่วนสูงระหว่าง 72 - 74 นิ้ว ควรเลือกcrank-arm length 172.5mm
    • ส่วนสูงระหว่าง 74 - 76 นิ้ว ควรเลือกcrank-arm length 175mm
    • ส่วนสูงมากกว่า 76 นิ้ว ควรเลือกcrank-arm length180 - 185 mm

  2. พิจารณาจากinseem length

    • Inseem lenght ที่สั้นกว่า 29 นิ้ว ควรเลือกcrank-arm length 165 mm
    • Inseem lenght ในช่วง 29 - 32 นิ้ว ควรเลือกcrank-arm length 170 mm
    • Inseem lenght ในช่วง 32 - 34 นิ้ว ควรเลือกcrank-arm length 172.5 mm
    • Inseem lenght ที่ยาวกว่า 34 นิ้ว ควรเลือกcrank-arm length 175 mm

Tuesday, December 2, 2014

ท่อโคโมลี Cr-Mo Reynolds

เฟรม เหล็กผสม โมลิปดินัม เรียกกันในตลาดติดปากว่า เฟรม โค-โมลี (CrMo)
ก็มีหลากหลายผู้ผลิต ทำออกมา แต่ที่กลุ่มผู้ผลิตเฟรมจักรยาน นิยมนำมาใช้ ก็มี ไม่กี่ยี้ห้อ
โดยขอเริ่มจาก สุดยอดนิยม ในชื่อผลิตภัณฑ์ ท่อ Reynolds
สายการผลิต ได้พัฒนา เป็น ระบบ ตามช่วงการผลิตโดย คร่าว ๆ ดังนี้

ท่อเหล็ก (Steel453) - Manganese/Titanium alloy.
ท่อ รุ่นนี้ Reynolds ผลิตออกมาเพียง 3 รุ่นในรูป ท่อโลหะผสม ใช้ชื่อทางการค้า เป็น single butted.

500 - เป็นการพัฒนา โดยใช้ส่วนโลหะผสมเพิ่มเติม เป็น chromium-molybdenum (CrMo) steel, seamed, butted

501 - ได้รับการพัฒนา เริ่มออกสู่ ตลาดประมาณปี 1983

520 และ 525 เริ่มพัฒนาต่อ ให้รับแรงได้ดีขึ้น จึงทำบางได้มากขึ้น เริ่มนำใช้ทำเฟรมกลุ่ม Triathlon

531 - ปรับปรุงส่วนผสม Manganese/Molybdenum. ยุคนี้ถือว่า ได้เข้าสู่สุดยอด พัฒนาให้กับ
กลุ่มขาทัวร์ริ่ง เฟรม ใช้ระหัส 531ST - Special Touring tubeset

631 - เทคนิควิธีการผลิต ได้คิดค้นใหม่ ทำเป็น Seamless air-hardened.

653 - ยุคนี้ มีการใช้ ส่วนผสม ที่ผ่านมา แต่เลือกใช้งานให้ได้ แต่ละสุดยอดของโลหะผสม เช่น
ตอนทำตะเกียบ จะใช้ 531 พอทำเฟรม ท่อหลักใช้ 653 ส่วนหางหลังใช้ 753

708 - สายผลิต ทำกันในช่วงปี 1980 ใช้เป็น ท่อหลักของเฟรม ส่วนหางหลังยังคงใช้ 753.

725 และ 731 2 รุ่นนี้ ใช้เทคนิคผลิตแบบของ 520 แต่เวลาผลิตจะทำขนาดท่อให้โตกว่าเดิม ก็แข็งแรงขึ้น

753 - เพิ่มเทคนิคในส่วนผสม Manganese-Molybdenum ใช้เทคนิคแบบ 531 แต่จะหนากว่าแล้วปรับกระบวนผลิต
แต่เจ้าท่อตัวนี้ มีข้อจำกัด ในการเชื่อมยึดเฟรมต้องควบคุม ตัวแปรในวัสดุประสานและอุณหภูมิการเชื่อม ดดยแนะนำไม่ให้ร้อนเกิน 700 องษาเซลเซียส จึงมีจำหน่ายเฉพาะในเครือข่ายเท่านั้น ในการผลิตยุคนี้ จึงมีขนาดและความหนาของท่อที่จะไปใช้กับเฟรม แตกต่างกันไป แบบจำเพาะเจาะจง Mountain, All terrain, Off road พวกนี้จะใช้โค้ท 753ATB ส่วนเฟรมของหมอบ จะใช้โค้ท 753R ส่วนเฟรมพวกที่ใช้กับทาง แทร็ค จะใช้โค้ท 753T

853 - เป็นเทคโนโลยีที่ใช้กัน ณ ปัจจบันนี้ เรียกว่า Seamless air-hardening heat-treated.
953 - เป็นเทคนิคของ การนำโลหะสองชนิดมาประกอบหรือประกบกัน Maraging stainless steel. ให้ค่าที่มีสมบัตินั้น ๆ


ค่าความแข็งเมื่อเขาเทียบไว้ :
1. Reynolds 953 วัสดุเป็น Carpenter Stainless Steel ค่า Ultimate Strength -----255-290 KSI
2. Reynolds 853 วัสดุเป็น Proprietary Air Hardening Heat Treated ค่า Ultimate Strength -----180-210 KSI
3. Dedacciai SAT 14.5 วัสดุเป็น 18MCDV6 Micro alloy ค่า Ultimate Strength ----- >203KSI
4. True Temper S3 วัสดุเป็น Proprietary Air Hardening Heat Treated ค่า Ultimate Strength -----150-217 KSI
5. True Temper OX Platinum วัสดุเป็น Proprietary Air Hardening Heat Treated ค่า Ultimate Strength -----135-185 KSI
6. Reynolds 725 วัสดุเป็น 25CrMo4 Heat Treated ค่า Ultimate Strength -----157-186 KSI
7. Columbus Zona วัสดุเป็น Nivacrom ค่า Ultimate Strength -----134-149 KSI
8. Reynolds 631 วัสดุเป็น Proprietary Air Hardening ค่า Ultimate Strength -----115-130 KSI
9. Reynolds 525 วัสดุเป็น 25CrMo4 ค่า Ultimate Strength -----114 KSI

ตามด้วยไททาเนียมของ Reynolds
10. Reynolds 3Al/2.5V วัสดุเป็น Titanium 3Al/2.5V ค่า Ultimate Strength -----90-95 KSI
11. Reynolds6Al/4V วัสดุเป็น Titanium 6Al/4V ค่า Ultimate Strength -----130-145 KSI

Saturday, November 15, 2014

Linux Commad: คำสั่งตรวจสอบ wireless

คำสั่งตรวจสอบ wireless
ls /sys/class/net    ใช้สำหรับตรวจสอบ interface 
sudo ip link set dev [wifi interface] down    ใช้ปิด interface นั้น ๆ 
sudo dhclient -r [wifi interface]    เรียกให้ dhcp server assign ip address ใหม่ อีกครั้ง 
sudo ip link set dev [wifi interface] up   เปิด interface นั้น ๆ 
sudo iwlist [wifi interface] scan     ใช้ scan wireless ในบริเวณ นี้ 
คำสั่งสำหรับการ ต่อ wireless แบบต่าง ๆ 
sudo iwconfig [wifi interface] ap [whatever you found for the MAC address  ใช้กรณีที่ connect ผ่าน MAC address]
sudo iwconfig [wifi interface] essid [whatever you found for essid ใช้กรณี connect ผ่าน ชื่อ wireless ]
sudo iwconfig [wifi interface] freq [whatever you found for frequency ใช้กรณีผ่านความถี่]
sudo dhclient [wifi interface]  สั่งให้ dhcp กำหนด ip address 

การกำหนด channel ของ wireless สำหรับเครื่องร่นเก่า จะไม่เห็น channel 12 - 13 

Tuesday, November 11, 2014

3 สิ่งที่นักปั่นจักรยานควรมี

ความทนทาน (Endurance) - คือความสมารถที่จะทำอะไรก็ตามได้นานๆโดยไม่รู้จักเหนื่อย เมื่อยล้า ถ้าในกีฬาจักรยานก็เรียกว่าความอึดนั่นเองครับ ความทนทานจะใช้เวลานานที่สุดในการสร้างและสะสม ร่างกายจะใช้เวลานานหลายปีกว่าที่จะสะสมปริมาณได้มากและเพียงพอสำหรับนักจักรยานทุกประเภท ทุกชนิด
ความแข็งแรง (Strength) - คือความสามารถในการออกแรงต่อบันไดเพื่อให้เกิดแรงบิดที่ขาจานไปหมุนเฟืองทำๆให้จักรยานเคลื่อนที่ให้ชนะแรงต้านต่างๆเช่นแรงโน้มถ่วงของโลก แรงลม การฝึกสร้างความแข็งแรงก็คือ การฝึกเพื่อให้เราสามารถออกแรงกดบันไดให้ได้แรงขึ้นหรือปั่นได้เกียร์หนักขึ้น เมื่อความแข็งแรงมาพร้อมกับความทนทาน เราจะปั่นได้ไกลขึ้นและเร็วขึ้น การฝึกส่วนนี้ในช่วงแรก เราจะฝึกโดยการเล่นเวท เทรนนิ่ง แล้วค่อยเปลี่ยนไปฝึกบนจักรยานจริงในช่วงหลัง
ประสิทธิภาพ (Efficency) - ภาษาจักรยานคือการปั่นให้เนียนและนิ่ง หมายความว่าเป็นการ ปั่นอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด ใช้แรงน้อยแต่ได้งานหรือความเร็วมากกว่าคนอื่นเช่น เทคนิคการปั่นลูกบันได การเข้าโค้ง การขี่ขึ้นเขา ลงเขา การปั่นเป็นกลุ่ม การsprint ท่านั่งในการปั่น อื่นๆ การฝึกส่วนนี้ส่วนมากจะเป็นการฝึกปั่นเกียร์เบารอบขาสูงๆ การฝึกปั่นขาเดียว การฝึกเข้าโค้งและออกจากโค้งทั้งทางราบและบนเขา ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลยถ้าไม่ได้รับการฝึกฝน ฝึกๆๆ และก็ฝึก จนทำให้ได้เป็นปกติครับ

Monday, October 27, 2014

เกียร์จักรยานเสือภูเขา

เกียร์จักรยานเสือภูเขา 

วันนี้เรามาคุยกันเรื่องของเกียร์กันดีกว่าครับ จักรยานแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อ ราคาก็ไม่เท่ากัน บางคนอาจจะได้ยินโฆษณา 24 ,27 speed หรือ 8 เกียร์ 9 เกียร์ มันคืออะไรกันแน่
มาว่ากันเรื่องของการนับเกียร์ก่อน

จักรยานทั่วไป จะมีเกียร์เรียงลำดับกันดังนี้ คือ 18,21,24,27 ซึ่งที่มาก็คือ ปกติจานหน้าจะมี 3 ใบ และจำนวนจานหลังก็จะแตกต่างกันออกไป เช่นหากเกียร์หลังหากมี 6 ใบก็เท่ากับ 3x6 =18 เกียร์ หรือปัจจุบันเกียร์สูงสุดมี 9 ใบ ก็เท่ากับ 3x9= 27 เกียร์นั่นเอง
กล่าว คือ จานหน้า 1 ใบ เปลี่ยน speed จากเกียร์หลังได้ 9 speed นั่นเองเพราะฉนั้นหากเราไปซื้อจักรยาน แล้วร้านบอกว่า 24 speed ก็หมายถึง เกียร์หลังมี 8 ใบนั่นเองในปัจจุบัน จักรยานเสือภูเขา มีเกียร์สูงสุดแค่ 27 เกียร์ (เกียร์หลังสูงสุดแค่ 9 ใบ) ทั้งนี้เนื่องจากพื้นที่ในการออกแบบเกียร์หลังให้มีใบมากๆนั้น มีจำกัด และขนาดของโซ่ก็ต้องเล็กตามไปด้วยซึ่งโซ่ที่ใช้ในปัจจุบัน หากใช้ 24 เกียร์ โซ่จะหน้ากว่า เกียร์ 27 เกียร์
โดย 27 เกียร์ต้องใช้โซ่ รหัส HG ซึ่งจะบางกว่าโซ่ทั่วไป จำไว้ให้ดีว่าชิ้นส่วนของเกียร์แต่ละรุ่นนั้นไม่ได้มีแค่เฉพาะเกียร์เท่า นั้น แต่มีด้วยกันถึง 10 ชิ้นคือจานหน้า , จานหลังโซ่ , มือเบรค , มือเกียร์ , ดุมหน้า , ดุมหลัง , สับจานหน้า , ตีนผี และ ก้ามเบรค
การ กำหนดประเภทของเกียร์

ปัจจุบันจะมีเกียร์ที่ทำมาจำหน่ายและนิยมใช้กันสองยี่ห้อครับ คือ
- Shimano การเปลี่ยนเกียร์จะใช้ใช้นิ้วโป้งกับนิ้วชี้เป็นตัวเปลี่ยนเกียร์ทีละขึ้น ทั้งจานหน้าและจานหลัง
- SRAM การเปลี่ยนเกียร์จะใช้วิธีบิดหนุน ที่แฮนด์จักรยาน ซึ่งเปลี่ยนได้เร็วกว่าแบบ Shimano เราเรียกว่า Grip Shift
ในที่นี้ผมจะกล่าวถึง Shimano อย่างเดียวครับ เนื่องจากมีผู้นิยมใช้มากกว่า SRAM ซึ่งผลิตสำหรับระดับแข่งขันมากกว่า Shimano ซึ่งทำ
เกือบทุกๆรุ่นของจักรยาน
ประเภทของเกียร์ Shimano
เกียร์ของ Shimano เป็นที่รู้จักกันดีในตลาดจักรยานบ้านเรา และเป็นที่นิยมไปทั่วโลก ทั้งเรื่องของประสิทธิภาพ ราคา ความแข็งแรงโดยผมจะ
พูดถึงเกียร์ที่เป็น มาตรฐานสำหรับจักรยานเสือภูเขาในระดับราคา ปานกลาง คือตั้งแต่ 1 หมื่นบาทขึ้นไปครับ เพราะจักรยานที่ ราคาถูกกว่านี้ เกียร์ของ Shimano จะเป็นรุ่นที่ไม่มีข้อมูลของเกียร์เลย เนื่องจากทำเพื่อรถราคาถูก และวัสดุที่ใช้ทำไม่เหมาะกับการเอามาลุย ตามป่าเขาครับ เหมาะที่จะเอา
ไป ขี่ตามถนน หรือหมู่บ้านมากกว่า โดยผมจะพูดถึงเกียร์ที่ราคาถูกที่สุด และใช้กับจักรยานราคาต่างๆกันไปด้วยเลย
1). Shimano Tourney
เป็นเกียร์ที่ถูกที่สุดของ Shimano ที่มีติดอยู่ในจักรยานราคา 6-8 พันบาทในบ้านเรา มีผลิดอยู่ไม่กี่ชิ้น คือมือเกียร์ เฟืองหลัง โซ่ สับจานหน้า สับจานหลัง ใช้กับจักรยานราคาถูก มีผลิตตั้งแต่ 5 , 6 และ 7 เกียร์ (15,18,21 speed) หากพบเกียร์ชื่อนี้อยู่ในราคาจักรยานที่แพงกว่าหมื่น ก็ควร
เลือกจักรยาน คันอื่นเถอะครับ เพราะจะได้เกียร์ดีกว่านี้แน่นอน และรถที่ใช้เกียร์นี้ไม่เหมาะใช้ในการแข่งขัน หรือขี่ตามภูเขา เนื่องจากเปลี่ยนเกียร์บน
เขาทำได้ยาก
2). Shimano Altus
เป็นเกียร์ระดับที่เริ่มใช้สำหรับ การขี่เสือภูเขา ตามป่า หรือทางออฟโรดได้ แต่ยังไม่ดีนัก ส่วนใหญ่ติดมากับจักรยานราคา 1 หมื่นต้นๆ และมีแค่ 7 เกียร์เท่านั้น (21 speed) โดยส่วนมากจะนิยมผสมเกียร์ Altus กับเกียร์ในระดับสูงกว่า เพื่อให้จักรยานมีประสิทธิภาพมากขั้น เช่น จานหน้าใช้
Altus จานหลังใช้ที่สูงกว่า เช่น Acera สำหรับเกียร์ Altus นั้น ถือว่าเป็นเกียร์ในระดับต้นของจักรยานเสือภูเขาเลยทีเดียว และผลิตครบทั้ง 10 ชิ้น
3). Shimano Acera
เป็นเกียร์ระดับต้น ที่สูงกว่า Altus เหมาะกับการขี่เสือภูเขาแบบท่องเที่ยว ตามป่าเขา ไม่เน้นใช้งานหนัก มีเกียร์สูงสุด 8 เกียร์ (24 speed) จะพบ
เห็น ติดกับจักรยานในราคาประมาณ 15,000 บาท สามารถขี่ตามป่าเขาได้ดี แต่ช่วงขึ้นเนินหรือภูเขา การเปลี่ยนเกียร์อาจไม่นิ่มนวล หรือใส่เกียร์ไม่เข้า เวลาโซ่ตึงมากๆ
4). Shimano Alivio
เป็นเกียร์ระดับต้นที่สูงกว่า Acera เหมาะกับการขี่เสือภูเขาแบบท่องเที่ยวตามป่าเขา ใช้งานหนักได้ดีพอควร (ใหม่ๆ) มีเกียร์สูงสุด 8 เกียร์ จะติดกับจักรยานราคา 15,000-18,000 เหมาะกับมือใหม่ที่ขี่บนถนน ทางลูกรัง ตามป่าเขา ซิงเกิลแทรก
การเปลี่ยน เกียร์นุ่มนวลพอควร แต่หากขึ้นเขา อาจจะใส่เกียร์ไม่เข้าในบางจังหวะ เมื่อใช้งานไปนานๆ จานหน้าจะสึก และเกียร์
จะเข้าได้ยากขึ้น
5). Shimano Deore
เป็นเกียร์ระดับกลาง หรือ 9 เกีบร์ระดับต้น เป็นเกียร์ที่ขยับจาก 8 เกียร์มาเป็น 9 เกียร์ ใช้งานได้ดีในทุกพื้นที่ และใช้เข้า
แข่งขันได้ ส่วนใหญ่ราคาจักรยานที่ใส่เกียร์ Deore นี้จะราคาประมาณ 18,000-25,000 บาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนชิ้นส่วน
ของ เกียร์ที่ใส่กับจักรยาน ในปีใหม่ๆ Deore ได้เพิ่ม Disk Brek เข้ามาด้วย ทำให้มีทางเลือกสำหรับคนงบน้อยได้มากขึ้น
จานหน้าของ Deore จะเป็นหมุดดันโซ่ ซึ่งดีกว่าเกียร์ระดับต่ำกว่าที่ใช้ปั้มขึ้นรูปโลหะที่สึกหรอได้ง่าย การเปลี่ยนระดับเกียร์
จากเกียร์รุ่น 8 เกียร์มาเป็น Deore นั้น จะต้องเปลี่ยนโซ่ด้วย มาเป็น รหัส HG เนื่องจากจานหลังจะแคบกว่า 8 เกียร์
6). Shimano Deore LX
เป็นเกียร์ระดับสูงที่ใช้กับการแข่งขัน หรือขี่ในสภาพลุยๆ ใช้งานหนักปานกลาง มี 9 เกียร์ ราคาจักรยานที่ใส่ XL จะราคา
ตั้งแต่ 25,000 บาทขึ้นไป ชิ้นส่วนของเกียร์เน้นที่ความแข็งแรง ความนุ่มนวลในการเข้าเกียร์ น้ำหนักที่เบาลง วัสดุที่ใช้ทำเกียร์ LX จะแข็งแรงขึ้น แต่น้ำหนักลดลงกว่าเกียร์แบบที่กล่าวมาข้างต้นพอควร ผู้มีงบปานกลางหากต้องเปลี่ยนเกียร์จักรยานที่ใช้อยู่ ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ก็แนะนำ LX ครับ ทั้งชุด 10 ชิ้นราคาประมาณ 25,000 บาท (ประมาณนะครับ) Deore LX ถือว่าเป็นเกียร์มาตรฐานที่สุด ที่ใช้ในการแข่งขันครับ

7). Shimano Deore XT
เป็นเกียร์ระดับแข่งขัน ที่พัฒนามาเพื่อการแข่งขันที่ใช้งานหนัก ความแข็งแรงเพิ่มขึ้น คงทนมากขึ้น และนำหนักจะเบาขึ้น การขึ้นรูปวัสดุจะมีความละเอียดมากขึ้น สามารถเข้าเกียร์ได้นุ่มนวลและเร็วมาก เหมาะกับผู้ที่ต้องการจักรยานที่ใช้ลุยแบบหนักๆ
ราคาจักรยานที่ใช้ Deore XT นี้จะอยู่ที่ 40,000 บาทขึ้นไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับยี่ห้อจักรยานและการผสมกันระหว่างอะไหล่ตัวอื่นๆ
ด้วย ใครต้องการให้รถตัวเองมีประสิทธิภาพสูงสุด ก็ใช้ XT นี่แหละครับ
Cool. Shimano Deore XTR
ชุดเกียร์ระดับTop สุดของ Shimano ซึ่งทำเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของเกียร์ และน้ำหนักที่เบาลงโดย XTR นี้จะ Design ขึ้นมาเป็นพิเศษ สำหรับการแข่งขัน เพราะมีการขึ้นรูปที่ละเอียดมาก วัสดุที่ใช้ก็เป็นเกรดที่แข็งแรงมาก ราคาเกียร์ทั้งชุด 10 ชิ้นประมาณ 50,000 บาท ส่วนใหญ่นัก
แข่งทั่วไป นิยมใช้ผสมกันระหว่าง XT และ XTR ใครเปลี่ยนครบ 10 ชิ้น น้ำหนักรถคงเบาลงไปเยอะเลยครับ อ้อ XTR ยังมีตีนผีที่เราเรียกว่าระบบ Reverse ครับ คือแทนที่จะใช้นิ้วโป้งเปลี่ยนเกียร์หลังให้เบาลง ก็สลับกันครับ ใช้นิ้วชี้เปลี่ยนเกียร์เบาแทนโดยใช้สปริงเป็นตัวช่วยเปลี่ยนเกียร์ซึ่งผม
ก็ ใช้รุ่นนี้ดีเหมือนกันครับ ก็แล้วแต่คนชอบครับ และ XTR ยังมีแบบตีนผี ขาสั้นขายาวด้วยนะครับ เลือกใช้กันตามชอบครับ
ทั้งหมดนี้ก็คือระดับเกียร์ทั้งหมดของเกียร์ Shimano ที่นิยมใช้ในวงการจักรยานบ้านเรา หวังว่ามือใหม่หลายๆท่าน คงจะเข้าใจเกียร์จักรยาน
มากขึ้นนะครับ เวลาเราไปซื้อรถใหม่ ก็ให้ดูเกียร์ก่อนเลย ว่าแต่ละชิ้นนั้น ใช้ของอะไร ส่วนใหญ่จะนิยมเปลี่ยนบางชิ้น ตอนที่ซื้อ เพราะจะเคลมราคาของ
ที่ติดรถ ได้ด้วย สำหรับมือใหม่ที่มีเงินสัก 20,000 ขึ้นไป ผมแนะนำให้เปลี่ยน ตีนผีเป็น XT หรือ XTR (1,800-3,500 บาท) เพราะการเปลี่ยนเกียร์
ทำได้ นุ่มนวลมาก ส่วนจานหน้า เราไม่ได้เปลี่ยนเกียร์บ่อยเท่าไหร่ ระดับ Deore จานสีดำก็เหลือเฟือครับ โซ่ก็ใช้ไปก่อน หากขาดค่อยใช้ของ XTR
(900 บาท) จะแข็งแรงมาก หรือมีเงินอีกนิด ผมแนะนำให้เปลี่ยนเฟืองหลัง เป็นของ XT (2,300 บาท) ไปด้วยตอนซื้อจักรยานเลย เท่านี้ระบบเกียร์
ของคุณก็ถือว่า สุดยอดแล้วครับ
ปล. ยังมีเกียร์ Shimano อีกตัวคือ Airlines ที่ใช้ลมในการเปลี่ยนเกียร์ ซึ่งผมเองก็ยังไม่เคยเห็นใครใช้เหมือนกัน เพราะการขี่แต่ละครั้ง ต้องเอาถังลมเล็กๆ ติดรถไปด้วย เพื่อใช้ในการเปลี่ยนเกียร์ครับ

เฟรมจักรยานทำด้วยอะไรดี? (What's material for bicycle frame?)


    ไททาเนียม (Titanium) เฟรมที่หลาย ๆ คนปรารถนา เมื่อพูดถึง ไททาเนียม นักนักจักรยานน้อยคนนักที่ไม่รู้จักคำนี้ เพราะเฟรมจักรยานที่ผลิตขึ้นมาจากวัสดุประเภทนี้ย่อมเป็นที่ปรารถนาของบรรดา นักนักจักรยานทุกคน จะเป็นเพราะเหตุใดที่หลาย ๆ คนเพ่งสายตาและความรู้สึกมาที่ ไททาเนียม หากจะมองด้วยสายตามันก็ไม่ได้วิเศษไปกว่าเฟรมที่ใช้วัสดุอื่น ๆ ผลิตขึ้นมามากมายนัก 

    ไททาเนียม Titanium) เป็นธาตุในโลหะที่ถูกค้นพบในปี ค.ศ.1797 โดย William Gregor เป็นโลหะที่มีแสงเป็นประกายขาวคล้ายเงิน มีความทนทานต่อการสุกร่อนเป็นเยี่ยม ดัดโค้งงอได้ตามต้องการ เมื่อทำให้ร้อน มีน้ำหนักเบา เมื่อทำให้เป็นวัตถุผสม มีความแข็งแรง ทนต่อการบิดดึงได้ดีมาก แต่ขึ้นรูปหรือเชื่อมต่อให้สวยงามได้ยาก ต้องใช้ผู้ชำนาญและอุปกรณ์ในการเชื่อมต่อชนิดพิเศษ ส่วนใหญ่ถูกนำไปใช้ในการทำชิ้นส่วนของเครื่องบิน ยานอวกาศ เรือดำน้ำ ดาวเทียม รวมถึงรากฟันเทียม และบางส่วนของขีปนาวุธ นอกจากค้นพบได้ในโลกเราแล้ว ยังพบว่ามีอยู่ในดวงอาทิตย์ และดวงดาวต่าง ๆ อีกด้วย

   ไททาเนียม เป็นวัตถุต้องห้าม ที่ต้องมีใบอนุญาตในการซื้อขาย มีราคาแพง ไม่มีขายตามร้านค้าวัสดุทั่วไป เหมือนกับเหล็กหรืออลูมิเนียม 

เฟรมจักรยานไททาเนียม 
เฟรมไททาเนียมนั้นมีอยู่สองเกรดด้วยกัน คือ ท่อที่ผลิตในอเมริกา กับท่อที่ผลิตในประเทศจีนและรัสเซีย ข้อแตกต่างกันที่ต้นทุนการผลิตและคุณภาพ ราจึงแตกต่างกันมาก โดยปกติไททาเนียมจะมีส่วนผสมของโลหะสองชนิตามอัตราส่วนดังนี้ คือ
3AL/2.5V = (Aluminium = 3 % / Vanadium = 2.5 % ) ส่วนที่เหลือเป็น Titanium
4AL/6V = (Aluminium = 4 % / Vanadium = 6 % ) ส่วนที่เหลือเป็น Titaniuam
ท่อไททาเนียมที่ทำจากรัสเซีย มีทั้งสองชนิดเหมือนกัน แต่เมื่อทดสอบคุณภาพแล้วพบว่าท่อของรัสเซียมีคุณภาพด้อยกว่าที่ทำในอเมริกาถึง 40 % ในด้านความทนทานต่อแรงบิดดึง ส่วนท่อไททาเนียมที่ผลิตในประเทศจีนนั้น ใช้สวนผสม 3AL/2.5V ถึงแม้จะมีส่วนผสมทางเคมีอยู่ในระดับเดียวกัน กับมาตรฐานทั่วไป แต่พบว่าของจีนยังมีส่วนผสมอื่น ๆ ปนอยู่ ทำให้ความแข็งแรงด้อยไปกว่าที่ผลิตในรัสเซียเสียอีก จึงลงความเห็นว่า ท่อไททาเนียมทั้งที่ผลิตในรัสเซียและผลิตในประเทศจีน ยังมีคุณภาพและน้ำหนักไม่ดีเท่ากับที่ผลิตในอเมริกา

ในสหรัฐอเมริกา Sandvik คือผู้ผลิตท่อไททาเนียม ที่มีชื่อเสียงที่สุดรายหนึ่ง และเป็นที่นิยมสำหรับการนำมาทำเฟรมจักรยาน จึงมีการประมูลสิทธิ์ในการซื้อท่อ เพื่อไปใช้ในการทำจักรยานของตนแต่เพียงผู้เดียว อย่างไรก็ตาม Sandvik ไม่ใช่ผู้ผลิตท่อไททาเนียมรายเดียวในอเมริกา เช่น เฟรมชั้นยอดของ Merlin กลับไปใช้ท่อไททาเนียมของ Haynes ที่ผลิตในเมือง Arcadia รัฐ Louisiana ซึ่งเป็นแหล่งผลิตท่อไททาเนียมระดับท๊อป ราคาแพง คุณภาพเยี่ยมอีกยีห้อหนึ่ง


เหล็ก (Steel) เหล็กเป็นวัสดุดั้งเดิมในการใช้ทำตัวถังจักรยาน ให้ความรู้สึกที่ดีในการขับขี่ ควบคุมง่าย ขี่สนุก ให้ตัวดี ไม่แข็งกระด้าง แข็งแรง ทนทาน รับน้ำหนักได้ดี แต่ข้อเสียคือ มีน้ำหนักมาก ลำบากในการดูแลรักษา เพราะเป็นสนิมง่าย แต่ก็ยังมีผู้ผลิตที่ใช้เหล็กคุณภาพดี ทำรถจักรยานออกมาวางจำหน่ายไปไม่น้อยดีเดียว เช่น Breezer และ Voodoo และมีนักแข่ง และผู้ที่นิยมจักรยานไม่น้อยทีเดียวที่นิยมชมชอบ กับตัวถังจักรยานที่ผลิตจากเหล็ก แต่ด้วยคุณสมบัติของเหล็กตามที่ได้กล่าวไว้ว่า มีน้ำหนักมาก จึงไม่ค่อยมีนักแข่งนิยมใช้กันมากนัก เพราะยังมีวัสดุประเภทอื่นที่มีคุณภาพใกล้เคียง หรือดีกว่า ใช้ในการทำตังถังจักรยาน ประกอบกับข้อได้เปรีบยที่มีน้ำหนักน้อยกว่าตัวถังที่ทำด้วยเหล็ก ด้วยเหตุผลนี้ เหล็กจึงไม่ค่อยจะเป็นที่นิยมนำมาใช้เป็นวัสดุสำหรับผลิตจักรยานในเชิงการกีฬา เหล็กจึงเป็นที่นิยมในการผลิตตัวถังจักรยานในเชิงพาณิชย์โดยทั่วไปเสียมากกว่า ด้วยคุณสมบัติที่แข็งแกร่งของมัน เหล็กจึงยังสามารถครองตลาดจักรยาน ได้มาตั้งแแต่อตีดกาลจนถึงปัจจุบัน 

โครโมลี่ (Chromoly) เป็นโลหะผสมระหว่างเหล็กกับโมลิบดีนั่ม (Molybdenum) มีน้ำหนักเบากว่าเหล็ก ท่อโครโมลี่ดี ๆ บางยีห้อมีน้ำหนักไม่ต่างจากไททาเนี่ยมเท่าไหร่นัก จุดเด็นของโครโมลี่ก็ให้ตัวดี ขี่สนุก แต่ข้อเสียคือ ดูแลรักษาค่อนข้างยากพอสมควร เป็นสนิมง่ายเหมือนเหล็กทั่ว ๆ ไป ถึงอย่างไรก็ยังเป็นที่นิยมของบรรดานักจักรยานที่แท้จริง หรือนักแข่งมากพอสมควร ท่อโครโมลี่ที่มีชื่อเสียงได้แก่ Ritchey / Reynolds และ Columbus เฟรมโครโมลี่ ราคาไม่แพงนัก ที่นิยมใช้กัน เห็นจะเป็นรถของ KHS โดยใช้ท่อของ True Temper 

อลูมิเนียม (Aluminium) เป็นเฟรมยอดนิยมของบรรดานักจักรยานทั้งหลายแหล่ เพราะมีน้ำหนัดเบา ดูแลรักษาง่าย ไม่เป็นสนิม (แต่เกิดการผุกร่อนได้ อันเกิดจากอลูมิเนียมอ๊อกไซด์) มีให้เลือกหลายเกรด เช่น 6061 / 7005 / หรือ Elan3. / Elite สูตรผสมของท่อ Easton รถเฟรมอลูมิเนียมขี่ไม่ค่อยนิ่มนวลเหมือนเฟรมชนิดอื่น ค่อนข้างแข็งกระด้างเมื่อขับขี่ในทางวิบาก แต่กลับตรงกันข้ามขี่ได้ดีในทางเรียบและทางสูงชัน ราคาไม่แพง มีให้เลือกมากมายในท้องตลาด รูปร่างและสีสรรคสวยงามสดุดตาผู้พบเห็น
*** ข้อควรพึงระวังในการดูแลรักษา สำหรับผู้ใช้เฟรมที่ผลิตด้วยอลูมิเนียม เนื่องจากอลูมิเนียมสามารถเกิดการผุกร่อนได้ด้วยหลาย ๆ สาเหตุ แต่สาเหตุที่สำคัญที่สุดมักจะพบบ่อย ๆ คือไอน้ำจากน้ำเค็ม สำหรับผู้ที่อยู่ติดทะเล ควรหมั่นรักษาเช็ดทำความสะอาดด้วยทุกครั้งหลังจากการใช้งาน และที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้คือ เหงื่อจากตัวเราในระหว่างการขับขี่ หยดเหงื่อที่ไปโดยเฟรมอลูมิเนียมนั้น หากเราละเลยก็อาจจะทำให้เฟรมของเราเกิดการผุกร่อนได้เช่นกัน...

คาร์บอนไฟเบอร์ (Carbon Fiber) เป็นอีกเทคโนโลยี่หนึ่ง ที่คิดค้นมาเพื่อทำเฟรมจักรยาน และประสบความสำเร็จมานานแล้ว และเป็นที่นิยมชื่นชอบของบรรดานักจักรยานโดยทั่วไปเช่นกัน เพราะมีข้อดีของวัสดุชนิดนี้คือ มันสามารถทำให้แข็งกระด้างมากหรือน้อย ทำให้เบามาก หรือนำไปเสริมในบางจุดที่ต้องรับแรงกระแทกมาก ๆ ได้ นอกจากนั้น ยังทนต่อการกัดกร่อนสูง ส่วนข้อเสียก็คือ มีราคารแพง เชื่อมต่อยาก ดังนั้น ตามข้อต่อที่รับแรงกระแทกสูง ๆ จะเกิดปัญหาได้ง่าย เขาจึงเลือกที่จะนำคาร์บอนไฟเบอร์ไปทำตัวถังประเภท โมโนค็อด (monocogne) หรือเฟรมชิ้นเดียวแทน ดังที่เห็นกันมากในรถฟูลซัสเพนชั่นโดยทั่ว ๆ ไป 

ลักษณะการปั่นจักรยานเป็นกลุ่ม

การปั่นเสือหมอบหรือเสือภูเขาในลักษณะเกาะกลุ่มเป็นเส้นตรง
หรือที่เรียกว่าpacelineนั้น เป็นลักษณะของการปั่นเข้ากลุ่ม
ที่ให้ประโยชน์แก่สมาชิกทุกๆคน เพราะการปั่นในลักษณะนี้จะช่วยให้
คนที่ปั่นตามลดแรงปะทะของลม ทำให้ประหยัดพลังงานเฉลี่ยถึง 26-27%
เลยทีเดียว ทำให้สามารถประหยัดพลังงาน และเดินทางได้ระยะทางไกล
กว่าการปั่นเพียงลำพัง อย่างไรก็ตามการปั่นในลักษณะนี้มีความจำเป็นที่จะต้อง
ศึกษาและเรียนรู้ถึงหลักการพื้นฐานเพื่อความปลอดภัยของสมาชิกและของทั้งกลุ่ม


...การขี่ในลักษณะpacelines ไม่ใช่เรื่องยากนัก เช่น นักปั่น 5 คน
ได้แก่ E D C B และ A ขี่เรียงกันมา โดยA นำหน้าขบวน เมื่อAเลิกเป็นคนนำ
ก็จะหลบออกทางด้านซ้าย ลดความเร็วลงแล้วไปต่อหลัง E ปล่อยให้ Bขึ้นมาเป็นผู้นำ
จากนั้นเมื่อBเลิกเป็นผู้นำ ก็จะหลบออกทางด้านซ้าย ลดความเร็วลงไปต่อท้ายขบวน
คือ ไปต่อท้าย A ดังแผนภูมิ

E - D - C - B - A ------> A หลบออกข้างไปต่อหลังE
A - E - D - C - B ------> B หลบออกข้างไปต่อหลังA
B - A - E - D - C ------>

รูปภาพ

การเตรียมตัวออกทริปท่องเที่ยวด้วยจักรยาน

1. จักรยานไม่ว่าจะใหม่หรือเก่าก่อนออกไปใช้ ควรตรวจตราดูความเรียบร้อยของรถเสมอนะครับ 
เช่น เบรกอยู่ในตำแหน่งของมันหรือเปล่า ยางอ่อนไปไหมอุปกรณ์บนตัวรถยังทำงานได้เป็นปกติไหม
พูดง่ายๆก็คือรถต้องพร้อมสมบูรณ์ทุกอย่างนั่นเอง

2. อุปกรณ์ประกอบเมื่อซื้อมาแล้วอย่านำไปวางไว้เฉยๆ ควรนำมาใช้ด้วยไม่ว่าจะเป็นไฟหน้าหลัง
กระดิ่ง หรือพวกเครื่องป้องกันร่างกายเรา เช่น ถุงมือถุงแขน แว่นตา เพราะไม่ว่าทางจะใกล้หรือไกล
มักเกิดอันตรายที่ไม่คาดคิดได้เสมอโดยเฉพาะหมวกกันน๊อคควรสวมใส่ให้เป็นนิสัย

3. ติดตั้งไฟหน้าด้วยสีขาวปรับให้ได้ระดับสายตาของรถคันหน้าแล้วเปิดให้กระพริบตลอดเวลา
ส่วนไฟหลังติดตั้งไฟหลังสีแดงเปิดให้กระพริบตลอดเวลาเช่นกันสำหรับเวลากลางคืน

4. ควรเตรียมอุปกรณ์ปฐมพยาบาลเบื้องต้นและยาสามัญทั่วติดตัวกันไปบ้างเพราะอุบัติเหตุกับ
นักจักรยานมักเลี่ยงกันไม่ค่อยพ้นเช่น ยาใส่แผลสด น้ำยาฆ่าเชื้อ ผ้าก๊อต พลาสเตอร์ 
ครีมหรือยาแก้เคล็ดขัดยอกยาแก้ไข้ หรือพวกครีมกันแดด เป็นต้น

5. เมื่อรถเราพร้อมสำหรับการที่จะออกทริปแล้วเราก็ควรจะมีการวางแผนในการออกทริป
แต่ละทริปด้วยถ้าเรามีการวางแผนที่ดีศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับเส้นทางหรือสภาพทางที่เราจะต้องขี่รถไป หรือสถานที่ที่เราจะไปเที่ยวไปพักให้พอมีข้อมูลอยู่บ้างถึงแม้จะไม่สมบูรณ์ 100 % ก็ตาม
ตรงนี้ก็จะช่วยเราได้มากเพราะการวางแผนการเดินทางสำหรับจักรยานนั้นมีความสำคัญมาก 
ไม่เหมือนกับการเดินทางด้วยรถยนต์ที่เราสามารถเร่งเวลาหรือควบคุมเวลาได้หรือจะเดินทาง
ในเวลากลางคืนก็ไม่ใช่ปัญหาสำหรับรถยนต์ส่วนการเดินทางด้วยจักรยานนั้นหากมีสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
ผิดพลาดระหว่างการเดินทางแล้วจะทำให้เสียเวลาเป็นอย่างมากไม่ว่าจะเป็นการหลงทาง 
ยางแตก อุบัติเหตุเล็กๆน้อยๆ หรือรถมีปัญหาดังนั้นควรมีการวางแผนไว้บ้างน่าจะเป็นผลดีต่อการเดินทาง

6. สิ่งของหรืออุปกรณ์ที่จะนำไประหว่างการออกทริปตรงนี้ต้องบอกว่าแล้วแต่ลักษณะการออกทริปของเราว่าเป็นแบบใด เช่นจะใช้เวลาออกทริปกี่วัน จะพักกันแบบไหน พักโรงแรมรีสอร์ทหรือไปกันแบบนกขมิ้นค่ำไหนก็กางเต็นท์กันที่นั่นเมื่อได้รูปแบบการออกทริปแล้วจึงจะมาจัดเตรียมข้าวของเครื่องใช้ รวมทั้งอุปกรณ์ต่างๆแต่ที่ต้องไม่ลืมเลยก็คือชุดเครื่องมือในการซ่อมแซมจักรยานของเราและ อุปกรณ์ปะเปลี่ยนยาง สูบลมแบบติดรถ ยางในสำรองซึ่งตรงนี้ชาวเสือทั้งหลายคงมีติดรถกันอยู่แล้ว แต่หากต้องเดินทางไกลกันจริงๆไปกันหลายวัน หรือสภาพเส้นทางทุระกันดารกว่าปกติเราอาจต้องเพิ่ม เครื่องมือบางอย่างติดรถไปด้วย เช่นตัวตัดต่อโซ่พร้อมสลักหรือข้อต่อสำรอง เครื่องมือถอดและ ขันชุดกระโหลก เป็นต้นส่วนข้าวของเครื่องใช้อย่างอื่นๆ ที่ผู้เขียนมักนำติดตัวไปด้วยเสมอก็เช่น 
ไฟฉายไฟแช็ค ( ถึงแม้เราจะไม่สูบบุหรี่ก็ตาม ) มีดพกขนาดเล็ก เชือก ผ้าสักผืนสองผืนน้ำมันหล่อลื่นโซ่ ส่วนใครใคร่จะนำอะไรติดตัวมากไปกว่าที่กล่าวมานี้ก็สุดแล้วแต่ตวามจำเป็นก็แล้วกันครับ 
แต่ขอแนะนำสักนิดครับว่าเราเดินทางด้วยจักรยานไม่ใช่รถยนต์น้ำหนักที่เราแบกไปนั้น
ควรจะน้อยที่สุดเอาเฉพาะของที่จำเป็นไปเท่านั้นเพื่อที่เราจะได้ไม่อ่อนล้ากับการแบกน้ำหนักเกินความจำเป็นครับ

7. สำหรับการขี่ออกทริปเป็นหมู่คณะนั้นก็มีข้อดีคือเราสามารถแชร์เรื่องสัมภาระกันได้ 
โดยที่เราไม่ต้องแบกเครื่องไม้เครื่องมืออยู่เพียงคนเดียวหรือเครื่องมือเครื่องใช้บางอย่างก็สามารถใช้ร่วมกันได้
เช่นพวกเต็นท์ ยางอะไหล่เครื่องมือซ่อมรถทั่วๆไปและการออกทริปเป็นกลุ่มนั้นหากเป็นสมาชิก
ที่รู้ใจกันก็จะทำให้การเดินทางท่องเที่ยวด้วยจักรยานนั้นเป็นไปด้วยความสนุกสนานมากยิ่งขึ้น

การเดินทางท่องเที่ยวด้วยจักรยานนั้นหากเราเดินทางใกล้ๆประเภทไปเช้าเย็นกลับ
หรืออาจต้องมีการค้างแรมแต่มีความสะดวกสบายพอสมควรหาของกินของใช้ได้ง่าย 
บางครั้งการสะพายเป้หลังเพียงใบเดียวเอาอุปกรณ์ข้าวของเพียงไม่กี่อย่างติดตัวไปก็พอเพียงแล้วสำหรับ การออกทริปแต่ละทริปแต่สำหรับนักปั่นที่พิศสมัยการเดินทางด้วยจักรยานอย่างจริงจังและยาวนานประเภทที่ว่าขี่ในสไตล์ทัวร์ริ่งเป็นอาชีพการเตรียมตัวอย่างที่กล่าวมาข้างต้นนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับนักปั่นประเภทนี้และการเลือกใช้รถจักรยานก็มีความจำเป็นที่ต้องเลือกประเภทที่เอื้ออำนวยต่อการทัวร์ริ่งเช่นกันเช่นตัวรถต้องมีขนาดพอเหมาะไม่เล็กหรือบอบบางจนเกินไปเพราะเราคง
หลีกเลี่ยงการบรรทุกสัมภาระไม่ได้สำหรับคนที่หันมาท่องเที่ยวด้วยจักรยานอาจจะบรรทุกมากบ้าง
น้อยบ้างแล้วแต่ทริป ซึ่งตัวรถเองก็คงต้องมีการดัดแปลงปรับท่วงท่าหรืออาจติดตะแกรงเข้าไปเพื่อการนี้จักรยานบางคันจึงมองดูเหมือนรถบรรทุกขนาดย่อมๆนี่เอง 

นอกเหนือจากการจัดเตรียมข้าวของเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆรวมถึงจักรยานคู่ใจของเราแล้ว
สิ่งสำคัญที่สุดก็คือตัวนักปั่นนั่นเองคงต้องยอมรับกันก่อนว่าการขี่จักรยานนั้นเป็นอะไรที่ไม่ได้
สะดวกสบายอย่างที่หลายๆคนเข้าใจทั้งตากแดด ตากลม บางครั้งตากฝน บางครั้งหนาวเสียจน
แทบอยากจะทิ้งจักรยานมันมีทั้งความเหน็ดเหนื่อย ความอ่อนล้า อันตราย จากรถที่ขับขี่ผ่านเราไปสารพัด แต่ในเมื่อรู้ทั้งรู้และยังมีความต้องการที่จะขี่จักรยานท่องเที่ยวเพื่อที่จะออกทริปได้อย่างสนุก 
การเตรียมตัวหรือทำให้ตัวเองแข็งแรงมีความฟิตอยู่เสมอจึงเป็นสิ่งที่นักปั่นทั้งหลายพึงกระทำ 
เพราะถ้าเราไม่มีแรงปั่นลูกบันไดแล้วสิ่งที่เราจัดเตรียมมาทั้งหมดก็ถือว่าไม่มีความหมายอันใดพาล
ทำให้เที่ยวไม่สนุกอีกต่างหากแต่ถ้าเราแข็งแรงมีแรงปั่นลูกบันไดได้เป็นวันๆสิ่งที่เราได้จากการขี่จักรยานท่องเที่ยวจะเป็นประสบการณ์ที่ดีที่ไม่รู้ลืมเลยทีเดียวอีกทั้งยังมีความภูมิใจในตัวเองอีกด้วย 
บางคนเมื่อมีโอกาสได้ท่องเที่ยวด้วยจักรยานแล้วถึงกับทำให้ไม่อยากขับรถยนต์เที่ยวอีกเลย 
เพราะโลกทัศน์ มุมมองต่อสิ่งต่างๆนั้นมองจากมุมของจักรยานแล้วมันจะสวยงามกว่าสัมผัสได้มากกว่าเข้าถึงได้มากกว่า

ในต่างประเทศนิยมแบ่งจัดระดับความยาก-ง่ายของเส้นทางดังนี้

Level 1 A ระยะทางการขี่ 40 - 48 กิโลเมตรต่อวันบนเส้นทางเรียบ
Level 1 B ระยะทางการขี่ 40-48 กิโลเมตรต่อวัน บนเส้นทางเรียบผสมเนินเตี้ย
Level 2 ระยะทางการขี่ 48 - 72 กิโลเมตรต่อวัน บนเส้นทางเนินเตี้ยและเนินชัน
Level 3 ระยะทางการขี่ 72 – 120.5 กิโลเมตรต่อวัน บนสภาพเส้นทางผสมและเป็นเนินสูง
หรือ

New Rider ระยะทางการขี่ 40 - 48 กิโลเมตรต่อวันบนเส้นทางเรียบ
Middle Rider ระยะทางการขี่ 48 - 72 กิโลเมตรต่อวันบนเส้นเรียบผสมทางเนินเตี้ยและเนินชัน
Pro Rider ระยะทางการขี่ 72 – 120.5 กิโลเมตรต่อวัน บนสภาพเส้นทางผสม และเป็นเนินสูง