Sunday, October 26, 2014

การวางตำแหน่งเท้าสำหรับปั่นจักรยาน ให้ได้ผลดี

รูปภาพ

การออกแรงปั่นจักรยานเพื่อให้ได้แรงกระทำต่อจักรยานสูงสุดนั้น เราต้องวางตำแหน่งเท้าของเราให้ถูกต้อง ไม่ใช่เพียงเราคิดจะวางตำแหน่งเท้าตรงไหนก็ได้ การปั่นโดยการวางตำแหน่งเท้าที่ไม่ถูกต้องนั้น นอกจากจะทำให้เกิดความเมื่อยล้าแล้ว แรงที่ออกไปยังสูญเปล่าเสียอีก 

การถีบลูกบันไดที่ถูกต้องนั้นต้องมีหลักการดังนี้ครับ ลักษณะของบันไดถีบธรรมดานั้นจะครอบคลุมได้แค่ 1/3 ของเท้าเท่านั้น ให้เราแบ่งเท้าออกเป็น 3 ส่วน 
1.ส่วนที่ 1 คือส่วนที่อยู่ปลายเท้าที่เราเขย่งเท้ายืนนั่นเอง
2.ส่วนที่ 2 คือส่วนที่สัมผัสกับพื้นในขณะที่เราเขย่งเท้า (คือส่วนที่เราต้องเอาไปใช้ในการสัมผัสกับบันไดจักรยาน)
3.ส่วนที่ 3 คื่อส่วนเท้าตั้งแต่ตอนกลางของฝาเท้าจนถึงส้นเท้าของเรานั่นเอง

ทำไมไม่ใช้ส่วนที่ 1 ของเท้าเรามาปั่นจักรยาน เพราะปลายเท้าของคนเราตำแหน่งนั้น นอกจากเป็นปลายเท้าซึ่งประกอบด้วยนิ้วเท้าทั้ง 5 นิ้วแล้ว ซึ่งนิ้วเท้าทั้ง 5 นั้นนอกจากมีชิ้นส่วนกระดูกที่ค่อนข้างเล็กแล้วก็ทำหน้าที่แยกจากกัน นอกจากไม่มีความแข็งแรงในการกดบันได้จักรยานแล้ว ยังจะไปสร้างภาระให้กล้ามเนื้อส่วนอื่นต้องใช้งานหนักขึ้นมาอีกด้วย 

เราต้องใช้ส่วนที่ 2 ของเท้ามาใช้ในการปั่นจักรยาน เพราะจุนั้นเป็นตำแหน่งที่ดีที่สุดของเท้าคนเราที่จะได้สัมผัสกับบันไดจักรยาน และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพราะตำแหน่งนั้นมนุษย์เราจะมีกระดูกชิ้นหนึ่ง เหมือนว่าพระเจ้าได้สร้างกระดูกชิ้นนี้เพื่อให้มนุษย์เราจะได้ใช้ถีบจักรยานก็ว่าได้ เพราะจุด ๆ นั้นนอกจากจะมีกระดูกที่พร้อมจะรองรับบันได้จักรยานแล้ว ยังเป็นจุดศูนย์กลาง (จุดหมุน) ของบันไ้จักรยานเป็นอย่างดี

แล้วถ้าใช้ส่วนที่ 3 ของเท้าใช้ปั่นจักรยานแล้วอะไรจะเกิดขึ้น การเอาส่วนกลางหรือที่ผมเรียกว่าส่วนที่ 3 จะทำให้แรงที่ส่งมาต้องสูญเปล่าไปทางปลายเท้าและส้นเท้า ทำให้แรงส่งผ่านไปไม่เต็มที่ ผลก็คือว่าเราเมื่อยเร็วกว่าเดิม และจักรยานก็จะคลานไปเหมือนเต่าที่กำลังสิ้นหวังในชีวิตของมัน 

การใช้คลีท (
clipless)ในการขับขี่จักรยาน นอกจากจะทำให้แรงที่เราส่งผ่านไปยังล้อนั้นได้ประสิทธิภาพเต็มตัวแล้วมันยังเพิ่มประสิทธิ์ภาพให้กับการขี่ได้อีกด้วย มันสามารถเพิ่มความเร็วและประสิทธิภาพในการปั่นได้กว่า 50 % โดยเฉพาะในเวลาที่คุณขี่ในที่ทุรกันดาร คุณสามารถควบคุมไม่ให่เท้าคุรหลุดจากบันได้ได้เป็นอย่างดี เพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่จักรยานได้เป็นอย่างดี 

สมรรถนะในการขับขี่โดยใช้คลีทนอกจากเราสามารถควบคุมตำแหน่งเท้ากับบันได้จักรยานได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ในการปั่นจักรยานเราไม่ได้ถีบลงไปอย่างเดียว แต่ตอนยกขึ้นก็สามารถเพิ่มแรงให้กับจักรยานได้ด้วย เพราะว่าเท้าของเราติดอยู่กับบันได้นั่นเอง หลักการปั่นจักรยานอีกประการหนึ่งที่จะทำให้เราปั่นจักรยานได้ดีขึ้นคือ การปั่นนั้นต้องไม่ปั่นด้วยการถีบลงแต่อย่างเดียวเท่านั้น เมื่อเราติดคลีปเลสส์แล้ว การวาดเท้าไปรอบ ๆ ให้มีความรู้สึกว่าเราควงวงเท้าให้เป็นวงกลม ๆ รอบ ๆ หัวกะโหลกนั้นต้องออกแรงทั้งขาลงและขึ้นเป็นวงกลม การขี่แบบนั้นไม่สามารถทำได้เลยหากเราไม่ติดคลิปเลสส์ที่บันไดและรองเท้าของเรา เมื่อคุณติดครีทแล้ว คราวนี้เราลองมาหัดดูแล้วเราจะเพลิดเพลินกับการขี่จักรยานจนไม่มีวันเบื่อเสียทีเดียว

จริง ๆ แล้วผมแทบไม่ต้องบอกกับเพื่อน ๆ เลยว่าตำแหน่งที่ดีที่สุดของเท้าเราควรจะวางจุดไหนไปสัมผัสกับลูกบันไดจักรยาน ถ้าเพื่อน ๆ ที่ใช้รองเท้าจักรยานจะใช้การสังเกตุให้ดี เพื่อน ๆ ลองหงายรองเท้าขึ้นมาดูซิครับ จะเห็นแผ่งรองยึดติดตรึงอยู่ นั้นละครับเป็นจุดที่เหมาะสมที่สุดที่ผู้ผลิตรองเท้าจักรยานได้คิดคำนวนมาแล้วให้กับเท้าของคนเราว่าเมื่อเราวางเท้าลงไปแล้วก็จะได้ตรงตำแหน่งที่เหมาะสมพอดี

ระยะและการออกแบบมา เมื่อเราวางเท้าไปบนบันไดจนสลักบันได้ตรึงเข้ากับแผ่นรองยึดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ถ้าเราลากเส้นตรงแนวดิ่งขึ้นไปจากแกนเพลาบันไดพาดไปถึงรองเท้าของเรานั้นเป็นตำแหน่งที่แกนเพลาไปสัมผัสตรงกับกระดูกชิ้นหนึ่ง ดังนั้นจึงสรุปว่าการวางตำแหน่งเท้าที่เหมาะสม การพัฒนาการของบันไดจักรยาน การพัฒนาของรองเท้าจักรยาน จะมาบรรจบ ณ จุด ๆ เดียวกันนั้นเอง และควรจดจำให้ดีว่า(แกนเพลาของบันไดจักรยาน Pedal Axle จะต้องตั้งอยู่ในตำแหน่งเดียวกับกระดูกที่เรียกกันว่า Ball of the Foot เสมอ) เพราะนอกจากผลเลิศทางการสร้างแรงขับจักรยานแล้วมันยังช่วยลดอาการบาดเจ็บต่าง ๆ ให้กับอวัยวะที่มีส่วนช่วยในการขับเคลื่อนข้อเหวี่ยงของจักรยานอีกด้วย

No comments: