Thursday, December 18, 2014

ขั้นตอนการย้าย /home เพื่อเพิ่มขนาด disk เดิม #ubuntu

มีขั้นตอนทั้งหมด 6 ขั้นตอน คือ
  1. เตรียม paratition ใหม่
  2. backup ไฟล์ fstab และ แก้ไขไฟล์ fstab ให้มองเห็น paratition ใหม่ให้เป็น /media/home
  3. ใช้คำสั่ง rsync เพื่อ copy ข้อมูลทั้งหมดของ /home (เดิม) ไปยัง /media/home (ใหม่)
  4. แก้ไข fstab อีกครั้งเพื่อย้าย mount point จาก /media/home ไปเป็น /home เพื่อแทนที่ของเดิม
  5. จากนั้นเปลี่ยนชื่อ /home เดิมเป็น /old_home  แล้ว reboot เครื่อง
  6. ทดสอบการทำงานว่าเป็นปกติหรือไม่?  ถ้าเป็นปกติ ไฟล์ทุกอย่างยังอยู่ครบ ก็ทำการลบ /old_home ออกจากระบบได้ 

เตรียม paratition ใหม่ 

ใช้ natilus format ก็ได้ ให้เลือกเป็น linux filesystem ext3 หรือ ext4   ถ้าถนัด command line ก็ใช้ คำสั่ง
sudo fdisk /dev/sda3

หลังจากเตรียม paratition เสร็จแล้ว ก็อย่าลืมจด UUID ของ paratition นั้น ๆ  ไว้ด้วย โดยคำสั่ง
sudo blkid

หรือถ้าไม่มี ก็ให้ใช้คำสั่ง
sudo vol_id -u 
ตัวอย่าง
sudo vol_id -u /dev/sda3

backup fstab 

ใช้คำสั่ง
sudo cp /etc/fstab /etc/fstab.$(date +%Y-%m-%d)

 ถ้าต้องการตรวจสอบว่าไฟล์ที่ backup เหมือนกับไฟล์ต้นฉบับ หรือไม่ ใช้คำสั่ง
cmp /etc/fstab /etc/fstab.$(date +%Y-%m-%d)

แก้ไข ไฟล์ fstab โดยใช้คำสั่ง 

sudo pico /etc/fstab

แล้วเพิ่มบรรทัดดังนี้
# (identifier)  (location, eg sda5)   (format, eg ext3 or ext4)      (some settings) 
UUID=????????   /media/home    ext3          defaults       0       2 
 
แทนที่ ????? ด้วย UUID ที่ได้จดไว้แล้ว  กรณีที่ format เป็น ext4 อย่าลืมเปลี่ยน ext3 ให้เป็น ext4 ด้วย 

เมื่อแก้ไขเสร็จก็ทำการ save & close แล้วจึงทำการสร้าง directory ตามคำสั่ง 

sudo mkdir /media/home
 

จากนั้น restart mount  ด้วยคำสั่ง

sudo mount -a 

ทำการโอนย้ายข้อมูจาก /home มาสู่ /media/home ด้วยคำสั่ง 

  
sudo rsync -aXS --exclude='/*/.gvfs' /home/. /media/home/.
 
หลังจาก run คำสั่งแล้วอาจจะรอนานหน่อย เนื่องจากต้องใช้เวลาในการ copy ข้อมูล  และบางครั้งอาจจะมี error เกิดขึ้นเกี่ยวกับการ copy ไฟล์ cache ต่าง ๆ ไม่ต้องตกใจไป
 เมื่อทำการ copy ข้อมูลเสร็จแล้ว สามารถจะตรวจสอบ ได้ว่าไฟล์ต่าง ๆ ได้ถูก copy ไปครบแล้วหรือไม่ ด้วยคำสั่ง 
sudo diff -r /media/ubuntu/linux-root/home /media/ubuntu/linux-home
 

 แก้ไขไฟล์ fstab อีกครั้งด้วยคำสั่ง 

sudo pico /etc/fstab 

แก้ไขบรรทัดที่ได้เพิ่มไปในขั้นตอนก่อนหน้านี้ (แก้ไขในส่วนของ location
# (identifier)  (location, eg sda5)   (format, eg ext3 or ext4)      (some settings) 
UUID=????????   /home    ext3          defaults       0       2

ทำการ mv /home เดิม เป็น /old_home ด้วยคำสั่ง 

 
cd / && sudo mv /home /old_home && sudo mkdir /home
 
 แล้วทำการ restart mount  อีกครั้ง
sudo  mount -a 

ทำลองใช้งานต่าง ๆ พร้อมทั้ง ทดสอบ restart เครื่องด้วย  เมื่อทำทดสอบแล้วไม่มีปัญหาอะไร ก็ทำการ ลบ /old_home ทิ้งซะ ด้วยคำสั่ง
cd /
sudo rm -r /old_home
 

Sunday, December 14, 2014

แฮนด์จักรยาน

      Drop

แฮนด์จักรยาน
          แฮนด์ดรอปหรือที่เราคุ้นหูกันว่าแฮนด์หมอบ เป็นแฮนด์ที่เรามักเห็นได้จากจักรยานเสือหมอบ โดยมีลักษณะปลายแฮนด์ที่โค้งลง ช่วยให้จับถนัดมือเมื่อก้มตัวลงสุด ๆ เพื่อลดแรงต้านของลมได้และใช้ขี่ทำความเร็วได้ดี

        Bullhorn

แฮนด์จักรยาน
          แฮนด์เขาควายถูกออกแบบมาเพื่อนักปั่นที่ไม่ถนัดจับปลายแฮนด์หมอบ โดยปลายแฮนด์โค้งขึ้น สะดวกต่อการก้มตัวลงในระดับปานกลาง ใช้เร่งความเร็วในทางราบ ซึ่งแฮนด์ทรงนี้เป็นที่นิยมใช้กับจักรยานฟิกซ์เกียร์เป็นอย่างมาก

         Bullmoose

แฮนด์จักรยาน
          ลักษณะเด่นของแฮนด์บูลมูสคือ ทรงสามเหลี่ยมที่เป็นแกนหลัก โดยตัวแฮนด์จะมีความกว้างกว่าแบบอื่น ๆ และมีน้ำหนักเบา ช่วยให้เลี้ยวและเข้าโค้งทำได้ง่ายมากขึ้น แต่เนื่องจากความกว้างของมันจึงอาจทำให้ผู้ขี่บางคนรู้สึกเกะกะ ทำให้ไม่ค่อยเป็นที่นิยมเท่าไรนัก   
   
         Flat

แฮนด์จักรยาน
          นับว่าเป็นแฮนด์ที่นิยมกันอย่างแพร่หลายอีกประเภทหนึ่งสำหรับแฮนด์ตรง ซึ่งนักปั่นหลายคนเลือกใช้กับจักรยานเสือภูเขา จักรยานฟิกซ์เกียร์ รวมถึงจักรยานลูกผสมด้วย เพราะแฮนด์ทรงนี้ช่วยให้การบังคับจักรยานทำได้สะดวกมากขึ้น

         Riser

แฮนด์จักรยาน
          แฮนด์ไรเซอร์จะมีลักษณะคล้ายกับแฮนด์ตรง แต่จุดกึ่งกลางของแฮนด์จะเว้าลงไปข้างล่าง ทำให้เปลี่ยนตำแหน่งการจับได้มากกว่านั่นเอง

         Aerobars

แฮนด์จักรยาน
          หลายคนอาจเคยเห็นแฮนด์แอโรบาร์ในการแข่งไตรกีฬามาบ้าง เพราะตัวแฮนด์จะมีที่พักแขนและด้ามจับยื่นออกมาด้านหน้า ซึ่งเหมาะใช้สำหรับในการแข่งขันเพื่อทำเวลาเป็นอย่างยิ่ง

         BMX

แฮนด์จักรยาน
          แฮนด์ประเภทนี้มาพร้อมกับจักรยานบีเอ็มเอ็กซ์ ซึ่งช่วยให้มีความคล่องตัวในการควบคุมจักรยานเพื่อแล่นบนทางวิบากหรือทาง ขรุขระ รวมถึงใช้ในการแข่งขันกีฬาเอ็กซ์ตรีมสำหรับจักรยาน ที่ต้องใช้ลีลาการเล่นผาดโผนสูงอีกด้วย

         Cruiser

แฮนด์จักรยาน
          แฮนด์ทรงนี้เห็นได้ตามจักรยานที่ไว้ปั่นตามชายหาดหรือจักรยานครุยเซอร์ สำหรับปั่นเล่นและปั่นรับลมชิล ๆ ซึ่งช่วยให้นักปั่นมีตำแหน่งการจับที่สบายมืออีกด้วย

         Whatton

แฮนด์จักรยาน
          เป็นแฮนด์ลักษณะเฉพาะจักรยานล้อสูง ช่วยในเรื่องการทรงตัวบนเบาะนั่งที่อยู่สูง เพราะเป็นจักรยานทรงโบราณมีล้อหน้าขนาดใหญ่และล้อหลังขนาดเล็ก

         Touring

แฮนด์จักรยาน
          แฮนด์ทัวริ่งหรือที่เรียกว่า แฮนด์ผีเสื้อ เพราะรูปทรงของมันมีลักษณะคล้ายปีกผีเสื้อ โดยนักปั่นหลายคนนำมาใช้กับจักรยานเสือภูเขา เหมาะกับการปั่นระยะไกลและใช้เวลานาน เนื่องจากสามารถเปลี่ยนตำแหน่งการจับได้หลายจุด ขึ้นอยู่กับความสบายของนักปั่นแต่ละคน

Monday, December 8, 2014

การเลือกความยาวท่อนอน ขาจาน

การเลือกความยาวของท่อบน ( top tube length )

เพื่อนๆครับ ลองเอาส่วนสูงของเพื่อนๆเอง หารด้วย ความยาวinseemที่วัดได้จากในตอนที่แล้ว แล้วมาดูกันหน่อยซิว่าเพื่อนๆมีผลลัพธ์เป็นเท่าไหร่

ว่าแต่ว่าจะหารไปทำไมกัน ถ้าเพื่อนๆอ่านเรื่องของinseem length ที่อ้างอิงไว้ในตอนที่แล้ว เพื่อนๆก็คงจะผ่านตาถึงคำว่า torso length กันหละ ( ความยาวtorso ก้อคือความยาวของช่วงหลังนั่นเอง , ในขณะที่ความinseemคือความยาวของช่วงขา ) การออกแบบท่อบนของจักรยานนั้น จะคำนึงถึงtorso lengthของผู้ขี่ ในขณะที่ท่อนั่งจะคำนึงถึงinseem lengthเป็นสำคัญ

เพื่อนๆคงจะหารเสร็จแล้วนะ มาแปรผลกันดีกว่า
ถ้าผลหารมีค่ามากกว่า 2.2 แสดงว่า เป็นคนที่มีช่วงหลังยาว ( เมื่อเปรียบเทียบกับความยาวช่วงขานะครับ ไม่ได้หมายถึงคนสันหลังยาว--->ขี้เกียจ นะ )
ถ้าผลหารมีค่าน้อยกว่า 2.0 แสดงว่า เป็นคนที่มีช่วงหลังสั้น
ถ้าอยู่ระหว่าง 2.0 - 2.2 ก็จัดอยู่ในกลุ่มเฉลี่ย

จักรยานส่วนใหญ่นั้นจะออกแบบมาสำหรับคนที่มีสัดส่วนอยู่ในค่าเฉลี่ย จักรยานในแบบstandard frame หรือ conventional frame มักจะมีความยาวของท่อบน ( วัดจากcenter of seat tube ไปยัง center of head tube นะครับ ) สั้นกว่าความยาวของท่อนั่ง ( วัด center to center เช่นกัน ) ประมาณ 2 - 3 ซม. ( อาจจะแตกต่างไปจากนี้ ขึ้นกับขนาดของเฟรม และยี่ห้อด้วยเป็นสำคัญ )

ในกลุ่มที่มีช่วงหลังค่อนข้างยาว ก็ควรจะพิจารณาเลือกเฟรมที่มีท่อบนค่อนข้างยาวหรือยาวเลย ( ขึ้นกับว่าช่วงหลังยาวมากแค่ไหน ) เฟรมกลุ่มนี้จะมีความยาวท่อบนที่เท่ากับหรือยาวกว่าความยาวท่อนั่ง เช่น ท่อนั่งยาว 58 ซม. ท่อบนยาว 59 ซม.

ในกลุ่มที่มีช่วงหลังค่อนข้างสั้น ก็ควรจะพิจารณาเลือกเฟรมที่มีท่อบนที่สั้น เช่น รถที่ออกแบบมาสำหรับผู้หญิง เช่น Trek WSD เป็นต้น

การเลือกจักรยานที่มีสัดส่วนผิดไปจากสัดส่วนของร่างกายจะมีผลเสียใน เรื่องของการการหายใจ การบังคับเลี้ยว การกระจายน้ำหนัก และสร้างความเมื่อยล้าให้แก่กล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่supportช่วงหลัง !!อย่าเชื่อใครโดยขาดความชั่งใจว่าเรายังสามารถปรับแต่งความยาวของStem หรือปรับตำแหน่งหน้า-หลังของเบาะชดเชยได้ เพราะนั่นจะทำให้การปรับแต่งต่างๆผิดเพี้ยนไปหมด ซึ่งเราจะได้กล่าวกันต่อไป


การปรับแต่งรถถนนให้เข้ากับตัวเรา
ความสูงของเบาะ

ความสูงของเบาะมีผลต่อactivityของกล้ามเนื้อขา โดยผลการศึกษาการทำงานของกล้ามเนื้อขาโดยเปรียบเทียบดูจากคลื่นไฟฟ้ากล้าม เนื้อ (EMG) พบว่าเมื่อเพิ่มความสูงของเบาะขึ้น กล้ามเนื้อขาที่เกี่ยวข้องจะทำงานเร็วขึ้น และมีเวลาที่ทำงานอยู่นานขึ้น แต่ไม่พบการเพิ่มขึ้นของmagnitudeของEMG ซึ่งนั่นหมายความว่าจำนวนของกล้ามเนื้อที่ทำงาน และแรงหดตัวของกล้ามเนื้อไม่เปลี่ยนแปลง

ความสูงของเบาะที่เหมาะสมจะมีผลช่วยลดการบาดเจ็บของข้อต่างๆ รวมไปถึงกล้ามเนื้อ และมีผลต่อประสิทธิภาพของการปั่น แต่อย่างไรก็ตาม ความสูงที่เหมาะสมนั้นยังไม่มีใครที่สามารถจะฟันธงลงไปว่าต้องเท่านั้น เท่านี้ แต่!!ก็มีหลายวิธีที่เป็นที่ยอมรับจากทั่วโลก และใช้กันอย่างแพร่หลาย ได้แก่

  1. วิธีของJohn Howard
    วิธีนี้แนะนำว่า เมื่อวางตำแหน่งของpedalที่ 6 นาฬิกา วางส่วนปลายของเท้าที่แกนบันได ( ก็ตำแหน่งที่เรายึดcleatนั่นแหละครับ ) เข่าจะงอ 30 องศา พอดี ( มุมของเข่านี้จะวัดจากเส้นที่ลากตลอดแนวความยาวของกระดูกขาด้านบน (femur) และกระดูกหน้าแข้ง(tibia) )ดังรูป


  2. วิธีของ Greg LeMond
    อาศัยการคำนวณจากค่าInseem length โดยระยะความสูงของเบาะที่เหมาะสม มีค่าเท่ากับ 0.883 x Inseem length โดยถ้าหากผู้ขี่ใช้clipless pedal ก็ให้ลบค่าที่ได้จากการคำนวณนี้ออกไป 3 mm
    ความสูงของเบาะวิธีนี้ จะเป็นระยะที่วัดระหว่างจุดกึ่งกลางของแกนกระโหลกไปยังส่วนบนสุดของเบาะ ( The top of saddle ) โดยแนวของการวัดนั้นจะวัดผ่านท่อนั่งและหลักอาน


  3. วิธีของ Andy Pruitt
    วิธีนี้จะคล้ายๆกับวิธีที่ 1 แต่จะมีจุดอ้างอิงในการวัด 3 จุด ( ฮ่าๆ มาหัดเรียนวิชาanatomyกันหน่อยก็แล้วกันนะครับ ) ดังนี้

    • Greater trochanter ของกระดูก femur
      greater trochanter เป็นปุ่มกระดูกที่สามารถคลำได้ง่าย โดยการยืนตรง เอามือคลำที่กระดูกเชิงกรานทางด้านข้างของลำตัว แล้วเลื่อนมือลงไปหากระดูกต้นขา ก็จะสะดุดกับปุ่มกระดูกนี้ได้ เมื่อเรางอข้อสะโพก (ยกเข่า) ปุ่มกระดูกนี้จะเป็นจุดหมุนของการงอข้อสะโพก ซึ่งเราจะพบว่าไม่มีการขยับขึ้นลงของปุ่มกระดูกนี้
    • Lateral condyle ของกระดูก femur
      ปุ่มกระดูกนี้จะอยู่ส่วนปลายของกระดูกfemur เป็นส่วนหนึ่งของข้อเข่า เมื่อเรานั่งบนเก้าอี้ แล้วงอเข่าเหยียดเข่าสลับกัน เราจะคลำได้ว่าปุ่มกระดูกดังกล่าวนี้จะอยู่กับที่เสมือนหนึ่งว่าเป็นจุดหมุน ของเข่านั่นเอง
    • Lateral malleolus
      ปุ่มกระดูกนี้ ก็คือตาตุ่มด้านนอกนั่นเอง
      ตำแหน่งความสูงที่เหมาะสมของเบาะนั้น จะวัดมุมได้ดังรูป



ถ้าหากคุณลองทำดูทั้ง 3 วิธีนี้ คุณก็จะพบว่าผลที่ได้จะมีค่าที่ใกล้เคียงกันมาก ( แต่จะต้องวัดในตำแหน่งที่เบาะทำมุมราบกับพื้น หรือเชิดปลายจมูกเบาะขึ้นเล็กน้อย (ในกรณีที่เป็นเบาะโค้ง , ผู้เรียบเรียง ) )

อีกวิธีในการดูง่ายๆว่าเบาะคุณสูงเกินไป ก็คือ จะมีการขยับของสะโพกตลอดเวลาที่มีการปั่น
และอีกวิธีในการดูง่ายๆว่าเบาะคุณเตี้ยเกินไป ก็คือ จะมีการขยับของร่างกายส่วนบนมากกว่าปกติและมักจะต้องยืนปั่นบ่อยๆ
ถ้าหากพบว่าวิธีทั้ง 3 นี้ได้ค่าที่แตกต่างกับความสูงเดิมที่คุณเคยใช้งานอยู่เป็นประจำ และต้องการจะปรับแต่งใหม่ๆ ก็โปรดใจเย็นๆสักนิดครับ การปรับทีเดียวมากๆเลยนั้น อาจจะปรับตัวไม่ได้ เพราะว่าเคยชินกับความสูงเดิม ก็มีคำแนะนำว่าให้ค่อยๆปรับเพิ่มหรือลดความสูง 2 mm ทุกๆ 2 สัปดาห์ ( ในกรณีนี้เข้าใจว่า น่าจะเหมาะสมกับผู้ที่ปั่นประจำทุกวัน ระยะทางรวมวันหนึ่งๆเป็นร้อยกม. เลยทำให้การปรับตัวนั้นต้องใช้เวลามากกว่าเหล่าพวกเราซึ่งเป็นมือใหม่ )


ตำแหน่งเดินหน้า-ถอยหลังของเบาะ ( Fore-Aft position )
    ตำแหน่งหน้า-หลังของเบาะที่ใช้กันมาอย่างแพร่หลาย ก็คือตำแหน่งที่เรียกว่า knee over pedal spindle หรือ KOPs ตำแหน่งนี้ผมเองก็เคยกล่าวเอาเป็นในเรื่อง การปรับจักรยานให้เข้ากับตัวของเรา ( นานาสาระเรื่องที่ 2 ตอน2 )
    ในจักรยานถนนนั้น KOPsก็ยังเป็นตำแหน่งพื้นฐานที่เราใช้ในการset ระยะหน้า-หลังของเบาะเช่นกัน ตำแหน่งนี้มีผลต่อการออกแรง และการใช้รอบขา
  • ในกรณีที่เราตั้งระยะหน้า-หลังของเบาะให้ถอยหลังห่างไปจากจุดKOPs เราก็จะได้แรงในถีบบันไดมากขึ้น ( ในการปั่นเสือภูเขา ที่มีเส้นทางขึ้นเขาชันๆ การปรับเบาะให้ถอยหลังไปจากจุดKOPs จะช่วยให้ผู้ปั่นสามารถเพิ่มแรงถีบบันไดขึ้น โดยใช้รอบขาลดลง , พูดง่ายๆว่า เรียกแรงบิดที่รอบเครื่องต่ำลงนั่นแหละ )
    นักแข่งรถถนนหลายคนนิยมตั้งเบาะถอยหลังห่างไปจากจุดKOPs 1-2 ซม. ( ในกลุ่มเสือภูเขา บางคนเช่นNed Overend ถอยเบาะไปจากจุดKOPs ถึง 6 ซม. )
  • ในกรณีที่เราตั้งระยะหน้า-หลังของเบาะให้เดินหน้าล้ำจุดKOPs ขึ้นไป จะพบว่าที่ตำแหน่งนี้นักปั่นสามารถใช้รอบขาสูงๆได้สะดวกกว่าเดิม ซึ่งจะเห็นได้ในกลุ่มSprinter จะตั้งเบาะเดินหน้าล้ำจุดKOPsขึ้นไป 1-2 ซม. ( ยิ่งถ้าเป็นพวกแข่งไตรกีฬาด้วยแล้ว ตำแหน่งเบาะจะล้ำหน้าKOPsไปมากทีเดียว เหตุผลสำคัญนอกจากได้รอบขาที่สูงแล้ว นักไตรกีฬาส่วนใหญ่มีพื้นฐานมาจากนักวิ่ง จึงมีกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังหรือHamstringsที่แข็งแรง และยืดหยุ่นกว่านักจักรยาน ร่วมกับรถจักรยานไตรกีฬามีมุมของท่อนั่งที่ชันกว่ารถถนนทั่วไป และการปั่นที่ห้ามเกาะท้ายกัน ( Drafting is illegal ) ท่าปั่นลักษณะนี้จะช่วยให้สามารถหมอบได้มากขึ้น (ก็ต้องพึ่งตัวเองใช่ไหม aerodynamicจึงจำเป็นที่สุด)โดยที่ไม่ต้องกังวลว่าจะตีเข่าใส่หน้าอกตัวเอง ไง และในท่าปั่นเช่นนี้จะให้ความคุ้นเคยคล้ายๆกับการวิ่งอยู่บนบันได


มุมของเบาะ (saddle tilt)
มุมของเบาะก็คล้ายๆกับเสือภูเขานั่นแหละครับ คือจะตั้งเบาะให้ขนานกับพื้นโลก หรือบางทีอาจจะปรับให้จมูกของเบาะเชิดขึ้นเล็กน้อย(ในกรณีที่เป็นเบาะที่ โค้ง)
การปรับเบาะให้เชิดมากๆนั้นในผู้ชายจะมีผลเสีย เพราะว่าจะมีการกดบริเวณXXX อาจจะเกิดอาการชา และสิ่งไม่พึงประสงค์ที่กลัวๆกัน
ส่วนในผู้หญิงนั้น ในบางคนอาจจะชอบที่จะปรับให้จมูกของเบาะก้มต่ำลงเล็กน้อย เพื่อลดแรงกดทับบริเวณอันพึงสงวน


ตำแหน่งความสูงของStem
ข้อควรพิจารณาก็คือ stemยิ่งสูงยิ่งสบาย stemยิ่งต่ำยิ่งลู่ลม
โดยทั่วไปแล้ว ส่วนสูงที่สุดของstem ควรจะต่ำกว่าส่วนสูงที่สุดของเบาะประมาณ 1-3 นิ้ว ( โดยเฉลี่ยควรประมาณ 2นิ้ว ) จริงอยู่ที่ว่าStemยิ่งต่ำเท่าไร ก็ยิ่งเพิ่มAerodymanicขึ้นเท่านั้น แต่!!!ก็ยิ่งเพิ่มความเมื่อยล้าให้แก่ร่างกายส่วนคอ หลังตอนล่าง และบ่อยครั้งที่อาจจะเพิ่มการกดบริเวณXXX และถ้าหากว่า ในเวลาที่ก้มหมอบปั่น แล้วหัวเข่าสามารถตีใส่หน้าอกตัวเองได้หละก้อ แสดงว่าstemต่ำเกินไปแล้วครับ


ความยาวของStem ( Stem extension )
จักรยานถนน หรือจักรยานภูเขาก็ตั้งอยู่ในพื้นฐานคล้ายๆกัน เพื่อนๆคงจะเคยได้ยินคำว่าระยะเอื้อม (reach)มาบ้างแล้ว ระยะเอื้อมจะมีส่วนประกอบที่สำคัญคือ ความยาวของท่อบน และความยาวของStem ความยาวของท่อบนนั้นเป็นสิ่งที่แปรผันไปตามขนาดของเฟรม ซึ่งถูกกำหนดมาจากความยาวของท่อนั่ง การปรับระยะเอื้อมที่เหมาะสมจึงต้องอาศัยการเลือกstemที่มีความสั้นยาวแตก ต่างกันไปตามแต่รูปร่างของผู้ขี่เอง

การจะเลือกขนาดความยาวของstemที่เหมาะสมนั้น จะต้องอาศัยเพื่อนที่สนิทกับคุณมากๆหน่อย ( ไม่สนิทจริง เขาไม่อยากจะช่วยครับ เพราะมันยุ่งยาก ) จากนั้นก็หาtrainerแบบจับล้อหลังมายึดกับจักรยานเอาไว้ให้มั่นคง แล้วหาไม้หรืออะไรก็ได้มารองหนุนล้อหน้าให้ได้ระดับเดียวกับเป๊ะกับล้อหลัง จากนั้นให้ขึ้นไปนั่งบนอาน วางตำแหน่งเท้าให้เหมาะสม เอามือจับที่ส่วนของแฮนด์ล่าง ( the drops of the bar ) จากนั้นต้องพึ่งเพื่อนหละครับ

คราวนี้ให้คุณก้มหน้าลงไปมองพื้น โดยทำมุม45องศา แล้วให้เพื่อนสนิทของคุณทิ้งสายดิ่งจากปลายดั้งจมูกของคุณลงไปที่พื้น ถ้าหากว่าstemที่ใช้อยู่มีความยาวที่เหมาะสม จะพบว่าส่วนปลายสุดของstemหรือแฮนด์จะอยู่หน้าต่อสายดิ่ง 1 นิ้วพอดี และในตำแหน่งนี้เมื่อคุณมองไปที่ดุมล้อหน้า จะเห็นว่าแกนของดุมล้อหน้าจะถูกบังด้วยhandlebars



อีกวิธีหนึ่งที่Greg LeMond แนะนำไว้ก้อคือ ในกรณีที่ความยาวของstemเหมาะสมนั้น เมื่อก้มลงเอามือจับไว้ที่แฮนด์ล่าง งอศอกประมาณ 65 - 70 องศา และขาจานอยู่ในตำแหน่ง 1 และ 7 นาฬิกา จะพบว่าข้อศอกจะอยู่ห่างจากลูกสะบ้า 0-1นิ้ว ( อาจจะสัมผัสกันได้ )

เอาหละจากนั้นให้ไปพิสูจน์กันจริงๆจังๆ ด้วยการปั่นระยะทางไกลๆสักหน่อย ( ปั่นใกล้ๆไม่ทันรู้สึกหรอกครับ )
- ถ้าหากว่าstemนั้นสั้นเกินไป คุณก็จะมีอาการปวดเมื่อยบริเวณคอและไหล่
- ถ้าหากว่า stemนั้นยาวเกินไป คุณก็จะมีอาการปวดเมื่อยหรือไม่ค่อยสบายนักบริเวณด้านหลังต้นแขน

Stem ในท้องตลาดจะมีความยาวให้เลือกใช้ตั้งแต่ 4 - 14 ซม. โดยที่ผู้ชายส่วนใหญ่มักจะลงตัวกับstemยาว 10 - 13 ซม. สำหรับผู้หญิงหรือผู้ที่มีtorso lengthที่ค่อนข้างสั้น ก็อาจจะใช้สั้นกว่านี้ได้อีก อย่างไรก็ตามถ้าหากว่าคุณพบว่าคุณต้องใช้stemที่ยาวมากเกินไป หรือสั้นมากๆ ขอให้คุณฉุกใจคิดไว้เถอะครับว่า คุณกำลังมีปัญหาเกี่ยวกับความไม่ลงตัวของเฟรมที่คุณใช้อยู่ โดยมีต้นเหตุมาจากความยาวของท่อบนที่ไม่เหมาะสมกับความยาวลำตัวช่วงบนของคุณ นั่นเอง

การชดเชยความไม่ลงตัวของขนาดเฟรม ด้วยการเลือกใช้stemที่สั้นหรือยาวมากๆ จะส่งผลเสียในแง่ของการควบคุมรถ การกระจายน้ำหนัก และจะได้จักรยานที่ขี่ไม่สบาย


Handlebars
แฮนด์ที่เหมาะสมนั้นควรจะมีความกว้างเท่ากับความกว้างของ ไหล่ ( วัดในท่าทิ้งแขนลงล่าง โดยวัดระยะห่างระหว่างปุ่มกระดูกของกระดูกต้นแขนทั้งสองข้าง ซึ่งปุ่มกระดูกนี้จะอยู่ด้านบนและนอกสุดของหัวไหล่คุณเอง ) การเลือกแฮนด์ที่แคบเกินไปจะส่งผลให้หายใจลำบาก ในขณะที่แฮนด์ที่กว้างเกินไป จะทำให้เปิดส่วนหน้าอกรับลมมากเกินไปและเพิ่มแรงปะทะของลมโดยใช่เหตุ ี


ความยาวขาจาน (Crank-Arm length)
ความยาวขาจานมีผลอย่างมากต่อรอบขาและการทดแรงถีบบันได ขา จานที่ยาวกว่าจะถูกเลือกใช้สำหรับการปั่นเกียร์หนักที่รอบขาต่ำ ในขณะที่ขาจานที่สั้นกว่าจะถูกเลือกใช้สำหรับการปั่นด้วยเกียร์ที่เบากว่า โดยใช้รอบขาที่สูงกว่า

เราอาจจะเลือกใช้ขาจานที่สั้นลงสำหรับการปั่นประเภทtrack sprint และ criteriums และอาจจะเลือกขาจานที่ยาวขึ้นสำหรับการปั่นแบบtime trial และการปั่นขึ้นเขา ( เสือภูเขาจะใช้ขาจานที่ยาวขึ้น เพื่อทดแรงสำหรับการป่ายปีนทางชันได้ดีขึ้น )

สิ่งที่อยากให้คิดถึงไว้บ้างก็คือ เมื่อคุณใช้ขาจานที่มีความยาวกว่าที่น่าจะเป็นหรือเหมาะสม ( เหมาะสมในแง่ของการไม่บั่นทอน หรือไม่สร้างความสึกหรอให้แก่หัวเข่า ) เอาหละถึงแม้ว่าคุณปรับความสูงของเบาะไว้เหมาะสมแล้ว สิ่งที่คุณจะพบก็คือในรอบการปั่น ที่ตำแหน่งหัวเข่าของคุณอยู่สูงสุดนั้น ขาจานที่ยาวกว่า จะมีการงอของหัวเข่ามากกว่าเสมอ พูดง่ายๆว่าหัวเข่าด้านบนจะถูกยกสูงขึ้นไปอีกกว่าเดิม เช่น ถ้าหากคุณเหมาะสมกับขาจานที่ยาวเพียง 170mm แต่คุณฝืนใช้ขาจานที่ยาวถึง 175 mm จริงอยู่ที่ว่าเมื่อขาจานขนานกับโลก ขาจานอาจจะยาวขึ้นกว่าเดิมอีกเพียง 5 mm ก็เหมือนกับแค่ก้าวขายาวกว่าเดิมอีกแค่ 5 mm แต่ในขณะที่หัวเข่าคุณขึ้นสูงสุดนี่สิครับ หัวเข่าด้านบนคุณจะต้องถูกชักขึ้นสูงกว่าเก่าอีก 10 mm เลยทีเดียว ( อย่าลืมนะครับว่า ขาจานยาวขึ้นอีก 5 mm คุณก็ต้องปรับอานต่ำลงอีก 5 mm ด้วย ) ( ขอขอบคุณ คุณนทีแห่งโปรไบค์ที่ให้ข้อคิดนี้เอาไว้ครับ ) นั่นก็ย่อมหมายถึงว่าคุณต้องงอเข่ามากขึ้นกว่าเดิมอีก ความสึกหรอของข้อเข่าก็จะมากขึ้นโดยเฉพาะถ้าหากคุณพยายามที่จะควงบันไดด้วย รอบขาที่สูงๆ

ถ้าหากคุณรู้สึกว่าหัวเข่าคุณงอมากเกินไปในตำแหน่งที่ยกขาสูงสุด ก็ลองเปลี่ยนมาใช้ขาจานที่สั้นลงอีกสัก 2.5 mm ก้อน่าจะเป็นผลดีกับคุณเองนะครับ

เอาหละครับ สูตรสำเร็จรูปที่ถูกเขียนเอาไว้ ลองพิจารณาก็แล้วกันครับ ผมหามาให้ 2 สูตร

  1. พิจารณาจากส่วนสูงโดยรวม

    • ส่วนสูงน้อยกว่า 60 นิ้ว ควรเลือกcrank-arm length 160mm
    • ส่วนสูงระหว่าง 60 - 64 นิ้ว ควรเลือกcrank-arm length 165 - 167.5mm
    • ส่วนสูงระหว่าง 65 - 72 นิ้ว ควรเลือกcrank-arm length 170mm
    • ส่วนสูงระหว่าง 72 - 74 นิ้ว ควรเลือกcrank-arm length 172.5mm
    • ส่วนสูงระหว่าง 74 - 76 นิ้ว ควรเลือกcrank-arm length 175mm
    • ส่วนสูงมากกว่า 76 นิ้ว ควรเลือกcrank-arm length180 - 185 mm

  2. พิจารณาจากinseem length

    • Inseem lenght ที่สั้นกว่า 29 นิ้ว ควรเลือกcrank-arm length 165 mm
    • Inseem lenght ในช่วง 29 - 32 นิ้ว ควรเลือกcrank-arm length 170 mm
    • Inseem lenght ในช่วง 32 - 34 นิ้ว ควรเลือกcrank-arm length 172.5 mm
    • Inseem lenght ที่ยาวกว่า 34 นิ้ว ควรเลือกcrank-arm length 175 mm

Tuesday, December 2, 2014

ท่อโคโมลี Cr-Mo Reynolds

เฟรม เหล็กผสม โมลิปดินัม เรียกกันในตลาดติดปากว่า เฟรม โค-โมลี (CrMo)
ก็มีหลากหลายผู้ผลิต ทำออกมา แต่ที่กลุ่มผู้ผลิตเฟรมจักรยาน นิยมนำมาใช้ ก็มี ไม่กี่ยี้ห้อ
โดยขอเริ่มจาก สุดยอดนิยม ในชื่อผลิตภัณฑ์ ท่อ Reynolds
สายการผลิต ได้พัฒนา เป็น ระบบ ตามช่วงการผลิตโดย คร่าว ๆ ดังนี้

ท่อเหล็ก (Steel453) - Manganese/Titanium alloy.
ท่อ รุ่นนี้ Reynolds ผลิตออกมาเพียง 3 รุ่นในรูป ท่อโลหะผสม ใช้ชื่อทางการค้า เป็น single butted.

500 - เป็นการพัฒนา โดยใช้ส่วนโลหะผสมเพิ่มเติม เป็น chromium-molybdenum (CrMo) steel, seamed, butted

501 - ได้รับการพัฒนา เริ่มออกสู่ ตลาดประมาณปี 1983

520 และ 525 เริ่มพัฒนาต่อ ให้รับแรงได้ดีขึ้น จึงทำบางได้มากขึ้น เริ่มนำใช้ทำเฟรมกลุ่ม Triathlon

531 - ปรับปรุงส่วนผสม Manganese/Molybdenum. ยุคนี้ถือว่า ได้เข้าสู่สุดยอด พัฒนาให้กับ
กลุ่มขาทัวร์ริ่ง เฟรม ใช้ระหัส 531ST - Special Touring tubeset

631 - เทคนิควิธีการผลิต ได้คิดค้นใหม่ ทำเป็น Seamless air-hardened.

653 - ยุคนี้ มีการใช้ ส่วนผสม ที่ผ่านมา แต่เลือกใช้งานให้ได้ แต่ละสุดยอดของโลหะผสม เช่น
ตอนทำตะเกียบ จะใช้ 531 พอทำเฟรม ท่อหลักใช้ 653 ส่วนหางหลังใช้ 753

708 - สายผลิต ทำกันในช่วงปี 1980 ใช้เป็น ท่อหลักของเฟรม ส่วนหางหลังยังคงใช้ 753.

725 และ 731 2 รุ่นนี้ ใช้เทคนิคผลิตแบบของ 520 แต่เวลาผลิตจะทำขนาดท่อให้โตกว่าเดิม ก็แข็งแรงขึ้น

753 - เพิ่มเทคนิคในส่วนผสม Manganese-Molybdenum ใช้เทคนิคแบบ 531 แต่จะหนากว่าแล้วปรับกระบวนผลิต
แต่เจ้าท่อตัวนี้ มีข้อจำกัด ในการเชื่อมยึดเฟรมต้องควบคุม ตัวแปรในวัสดุประสานและอุณหภูมิการเชื่อม ดดยแนะนำไม่ให้ร้อนเกิน 700 องษาเซลเซียส จึงมีจำหน่ายเฉพาะในเครือข่ายเท่านั้น ในการผลิตยุคนี้ จึงมีขนาดและความหนาของท่อที่จะไปใช้กับเฟรม แตกต่างกันไป แบบจำเพาะเจาะจง Mountain, All terrain, Off road พวกนี้จะใช้โค้ท 753ATB ส่วนเฟรมของหมอบ จะใช้โค้ท 753R ส่วนเฟรมพวกที่ใช้กับทาง แทร็ค จะใช้โค้ท 753T

853 - เป็นเทคโนโลยีที่ใช้กัน ณ ปัจจบันนี้ เรียกว่า Seamless air-hardening heat-treated.
953 - เป็นเทคนิคของ การนำโลหะสองชนิดมาประกอบหรือประกบกัน Maraging stainless steel. ให้ค่าที่มีสมบัตินั้น ๆ


ค่าความแข็งเมื่อเขาเทียบไว้ :
1. Reynolds 953 วัสดุเป็น Carpenter Stainless Steel ค่า Ultimate Strength -----255-290 KSI
2. Reynolds 853 วัสดุเป็น Proprietary Air Hardening Heat Treated ค่า Ultimate Strength -----180-210 KSI
3. Dedacciai SAT 14.5 วัสดุเป็น 18MCDV6 Micro alloy ค่า Ultimate Strength ----- >203KSI
4. True Temper S3 วัสดุเป็น Proprietary Air Hardening Heat Treated ค่า Ultimate Strength -----150-217 KSI
5. True Temper OX Platinum วัสดุเป็น Proprietary Air Hardening Heat Treated ค่า Ultimate Strength -----135-185 KSI
6. Reynolds 725 วัสดุเป็น 25CrMo4 Heat Treated ค่า Ultimate Strength -----157-186 KSI
7. Columbus Zona วัสดุเป็น Nivacrom ค่า Ultimate Strength -----134-149 KSI
8. Reynolds 631 วัสดุเป็น Proprietary Air Hardening ค่า Ultimate Strength -----115-130 KSI
9. Reynolds 525 วัสดุเป็น 25CrMo4 ค่า Ultimate Strength -----114 KSI

ตามด้วยไททาเนียมของ Reynolds
10. Reynolds 3Al/2.5V วัสดุเป็น Titanium 3Al/2.5V ค่า Ultimate Strength -----90-95 KSI
11. Reynolds6Al/4V วัสดุเป็น Titanium 6Al/4V ค่า Ultimate Strength -----130-145 KSI